หากเอ่ยถึงการนำทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ รถ ไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการจำนอง และบ้างก็เข้าใจว่าเป็นรูปแบบของการขายฝาก เพราะดูเหมือนว่านิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบนี้มีลักษณะ วิธีการ ขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน เมื่อถึงยามจำเป็นที่ต้องเลือกทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ เหตุนี้จึงต้องแจกแจงให้เห็นถึงความแตกต่าง พร้อมเผยถึงจุดเด่น จุดด้อย ของนิติกรรมแต่ละรูปแบบทั้งการขายฝากและการจำนอง
การจำนอง เป็นการทำนิติกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะของการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนื้ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนอง เป็นได้ทั้งทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ ทรัพย์สิน ประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียน เฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น โดยในการจำนองทรัพย์สินทุกประเภท จะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ
ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้จำนองได้จำนองทรัพย์สินเพื่อประกันการชำระหนี้ของตนเอง และมีข้อตกลงว่าจะชำระหนี้จนครบถ้วนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่เพียงพอ ผู้จำนองมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้แก่ผู้รับจำนองจนกว่าจะครบถ้วนต่อไป แม้จะถูกบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่จำนองแล้วก็ตาม
สัญญาจำนองเป็นวิธีการกู้เงินโดยใช้ทรัพย์สินมาเป็นหลักค้ำประกัน เมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ในการยึดทรัพย์สินที่นำมาจำนองไว้ เพื่อนำไปขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งทรัพย์สินที่สามารถนำมาทำสัญญาจำนองได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
หมายถึงทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น ทอง เครื่องเพชร รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วย
การทำสัญญาจำนองเป็นวิธีการกู้เงินวิธีหนึ่งที่ใช้ทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน ซึ่งก่อนที่จะทำสัญญาจำนอง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจำนองที่ดิน สัญญาจำนองบ้านคือสิ่งจำเป็นที่จะต้องอ่านสัญญาให้ละเอียด เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาด ไปดูกันว่าก่อนทำสัญญาจำนอง ต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง
ศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจ
การทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน หรือการทำสัญญาจำนองบ้านนั้นคือ การนำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนไปกับผู้ให้กู้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ขอกู้จะชำระหนี้ให้ครบถ้วน หากไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงตามสัญญา หรือผิดชำระหนี้ก็จะถูกยึดโฉนดไป ซึ่งหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน ควรมีรายละเอียดดังนี้
สิ่งที่ต้องระบุในสัญญา | รายละเอียด |
---|---|
รายละเอียดทรัพย์ | ระบุให้ชัดเจนว่าทรัพย์สินที่นำมาจำนองนั้นเป็นอะไร และมีลักษณะอย่างไร พร้อมทั้งบอกจำนวนให้มีความชัดเจน |
วันเดือนปี ที่ทำสัญญาจำนอง | ระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญาให้มีความชัดเจน เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต |
ชื่อผู้ทำสัญญาทั้งผู้จำนองและผู้รับจำนอง | ต้องมีการระบุชื่อผู้จำนองและผู้รับจำนองอย่างชัดเจน พร้อมทั้งระบุเลขประจำตัวประชาชน ของ สัญญาเป็นหนังสือ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ด้วย |
จำนวนเงินกู้ | ระบุรายละเอียดจำนวนเงินกู้ให้เรียบร้อย |
อัตราดอกเบี้ย | เขียนรายละเอียดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนลงในสัญญาไม่ว่าให้ไว้ว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ หรือแบบลอยตัวก็ตาม |
กำหนดเวลาชำระ | ในสัญญาจำนองต้องระบุเวลาในการชำระหนี้ให้ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดวันเวลาที่แน่นอนเพื่อป้องกันการคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดพลาด |
จำนวนครั้งที่สามารถผิดนัดชำระ | ในกรณีที่เกิดการผิดชำระ ให้ระบุจำนวนครั้งตามสมควรที่จะสามารถผิดนัดได้พร้อมทั้งบอกวิธีการที่จะแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดการผิดสัญญาในอนาคต |
การเซ็นสัญญา | ในส่วนสุดท้ายของสัญญาจำนองจะต้องมีการเซ็นสัญญา โดยจะต้องมีลายเซ็นของผู้จำนอง ผู้รับจำนอง พยาน 2 คน เจ้าพนักงานที่ดิน ผู้เขียนสัญญา และผู้ตรวจสัญญา |
การทำสัญญาจำนองเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายที่ไม่ได้มีอายุความตามกฎหมาย แต่สัญญาจะไม่มีผลทางกฎหมายแล้วก็ต่อเมื่อผู้จำนองจ่ายหนี้ครบทั้งหมด
แต่ในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระ หรือไม่มีการชำระหนี้ตามที่ตกลงในหนังสือสัญญา ในขั้นตอนแรกผู้รับจำนองจะต้องออกหนังสือเตือนไปก่อน หากลูกหนี้ยังคงไม่ชำระหนี้ จึงจะสามารถฟ้องศาลเพื่อร้องขอให้ชำระหนี้ตามที่สัญญา แต่หากลูกหนี้ไม่มีเงินชำระ และผู้รับจำนองต้องการนำทรัพย์สินที่จำนองไว้ไปขายทอดตลาด จะต้องทำหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนอย่างน้อยล่วงหน้า 1 เดือน
การขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากที่ดิน และมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก
ก่อนจะไปหาข้อแตกต่างของการทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ จำเป็นต้องทำความเข้าใจ รูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนระหว่างการขายฝากและการจำนองให้ถ่องแท้ เพื่อเลือกใช้ได้ตรงจุด
อย่างไรก็ดี ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจด้วย การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก
การขายฝากและการจำนอง เป็นรูปแบบการทำนิติกรรม ซึ่งหลายคนยังสับสน และท้ายที่สุดอาจทำให้ตัดสินใจเลือกทำนิติกรรมผิดรูปแบบ ผิดวิธี ไม่ตรงตามเจตนาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุนี้จึงต้องแจกแจงข้อแตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน
ขายฝาก | จำนอง |
---|---|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจำนองคืออะไรและข้อแตกต่างระหว่างการขายฝากกับการจำนองไปแล้ว ต่อไปนี้ใครที่มีความจำเป็นต้องทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ จะสามารถพิจารณาจุดเด่น จุดด้อย และเลือกใช้บริการได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ควรเลือกนายทุนหรือบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันสิทธิประโยชน์ของตัวเราเอง
เปลี่ยนที่ดินของคุณให้เป็นเงินก้อน ด้วยบริการขายฝากที่ดิน Xspring ได้เงินไว ดอกเบี้ยถูก วงเงินสูง
หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าค่าจดจำนองและค่าโอนเป็นสิ่งเดียวกัน แท้จริงแล้วทั้งสองค่าใช้จ่ายนี้มีความหมายและวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน โดยค่าโอน เป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ส่วน ค่าจดจำนอง เป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียเฉพาะกรณีที่กู้เงินเพื่อซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์
ค่าจดจำนองเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียเฉพาะกรณีที่กู้เงิน เพื่อซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะคิดในอัตรา 1% จากราคาจำนอง แต่จะเสียไม่เกิน 200,000 บาท
สำหรับที่ติดที่ติดจำนองอยู่นั้น สามารถก่อสร้างบ้านได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนอง
ที่ดินเปล่า ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สามารถจำนองได้ แต่จะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
บ้านติดจำนอง เป็นบ้านที่เจ้าของเดิมนั้นนำมาเป็นหลักค้ำประกัน เพื่อกู้เงิน แต่หากมีการผิดชำระก็จะถูกริบบ้าน เพื่อนำขายทอดตลาด บ้านที่ติดจำนองจึงสามารถซื้อขายได้ปกติ
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2568 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >
ไถ่ถอนจำนองคืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เรื่องที่คนกู้บ้านต้องรู้ อ่านเพิ่มเติม >
รถไฟฟ้าสายสีม่วง เชื่อมต่อโครงการน่าอยู่ใจกลางเมืองและปริมณฑล อ่านเพิ่มเติม >
10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ด้วยตนเองเพื่อกำจัดคราบสกปรก อ่านเพิ่มเติม >
รู้จัก TM 30 (ตม. 30) คืออะไร พร้อมวิธีการแจ้งที่พักอาศัยชาวต่างชาติอย่างถูกต้อง ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้
ลงทุนบ้านหรู กระแสใหม่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะบ้านหรูใกล้เมือง ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพรอบด้าน ครบทุกความสะดวก อยู่กีดี ลงทุนก็คุ้ม อย่างกรุงเทพกรีฑาและบางนา
มุมมองลงทุนอสังหาริมทรัพย์ 2568 บ้านหรู เติบโตสวนกระแส ดีดตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของซัพพลายหรือดีมานด์ โดยเฉพาะกลุ่มกำลังซื้อคนไทยระดับบน
รู้จัก TM 30 (ตม. 30) คืออะไร พร้อมวิธีการแจ้งที่พักอาศัยชาวต่างชาติอย่างถูกต้อง ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้
ลงทุนบ้านหรู กระแสใหม่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะบ้านหรูใกล้เมือง ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพรอบด้าน ครบทุกความสะดวก อยู่กีดี ลงทุนก็คุ้ม อย่างกรุงเทพกรีฑาและบางนา
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2568 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >
ไถ่ถอนจำนองคืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เรื่องที่คนกู้บ้านต้องรู้ อ่านเพิ่มเติม >
รถไฟฟ้าสายสีม่วง เชื่อมต่อโครงการน่าอยู่ใจกลางเมืองและปริมณฑล อ่านเพิ่มเติม >
10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ด้วยตนเองเพื่อกำจัดคราบสกปรก อ่านเพิ่มเติม >