ฟรีแลนซ์คนไหนที่ซื้อบ้านไปแล้วหรือกำลังจะซื้อบ้าน แต่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ด้วยพิษของเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงนี้ จนทำให้คิดไม่ตกว่าจะเลือกผ่อนชำระหนี้กับธนาคารปกติหรือพักชำระหนี้ ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของตนเองดี แนะนำให้ลองดูจุดเด่นจุดด้อยในการเปรียบเทียบทั้ง 2 วิธี แล้วจะได้คำตอบที่ดีที่สุดต่อกระเป๋าสตางค์ตนเอง
มาตรการพักชำระหนี้ เกิดขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ออกโครงการพักชำระหนี้ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน เพื่อช่วยมนุษย์กู้บ้านที่กำลังประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังในช่วงที่ประเทศและโลกกำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย ไม่ว่าจะเป็นลดยอดผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน และเลื่อนกำหนดการจ่ายหนี้ออกไป และล่าสุดเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาดหนักในประเทศไทย จึงทำให้ต้องออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน เพื่อมาเยียวยาลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้าง ในสถานประกอบการทั้งในและนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้
สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม หรือมีรายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สถาบันการเงินจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ ซึ่งธนาคารจะกำหนดว่าไม่ได้เป็นกรณีการผิดชำระหนี้หรือเสียประวัติข้อมูลเครดิตบูโร ทั้งนี้ในกรณีของการพักชำระหนี้บ้าน จะประกอบไปด้วย 2 ประเภทคือ
คือ ธนาคารผ่อนปรนให้บรรดาฟรีแลนซ์ไม่ต้องจ่ายเงินต้นตามเวลาที่กำหนดไว้ แต่จำเป็นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยที่กู้บ้านตามที่ธนาคารกำหนด ดังตัวอย่าง
นายแสน ประกอบอาชีพเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 30,000 บาท และได้ทำการกู้เงินซื้อบ้านโครงการสิริ เพลส เวสต์เกต กับธนาคารแห่งหนึ่งในราคา 3 ล้านบาท โดยมียอดที่ต้องจ่ายธนาคารต่อเดือน 17,977 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 7,000 บาท ดอกเบี้ย 10,977 บาท หลังจากประเทศและทั่วโลกเผชิญเศรษฐกิจถดถอย ทำให้รายได้ต่อเดือนของนายแสนลดลงเหลือ 20,000 บาท ทำให้นายแสนประสบวิกฤตในการผ่อนชำระหนี้บ้าน
นายแสนจึงดำเนินการยื่นเรื่องขอพักชำระหนี้กับธนาคารที่ตนเองยื่นกู้ โดยธนาคารได้ผ่อนปรนให้พักชำระเงินต้นเป็นเวลา 4 เดือน ทำให้จากเดิมที่นายแสนต้องจ่ายค่าบ้านเดือนละ 17,977 บาท จะเหลือเพียง 10,977 บาท เป็นเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่ได้รับการอนุมัติจากธนาคาร
คือ ธนาคารผ่อนปรนให้ฟรีแลนซ์ สามารถเลื่อนงวดการผ่อนจ่ายได้ทั้งส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ดังตัวอย่าง
นางสิริ ประกอบอาชีพเป็นกราฟิก ดีไซเนอร์ ฟรีแลนซ์ มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 40,000 บาท และได้ทำการกู้เงินซื้อบ้านโครงการสิริ เพลส ราชพฤกษ์-นครอินทร์ กับธนาคารแห่งหนึ่งในราคา 3.5 ล้านบาท โดยมียอดที่ต้องจ่ายธนาคารต่อเดือน 20,973 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 9,000 บาท ดอกเบี้ย 11,973 บาท หลังจากประเทศและทั่วโลกเผชิญเศรษฐกิจถดถอย และประสบกับภาวะการระบาดของโรคโควิด19 ทำให้รายได้ต่อเดือนของนางสิริลดลงเหลือ 25,000 บาท ทำให้นางสิริประสบวิกฤตในการผ่อนชำระหนี้บ้าน
นางสิริจึงดำเนินการยื่นเรื่องขอพักชำระหนี้กับธนาคารที่ตนเองยื่นกู้ โดยธนาคารได้ผ่อนปรนให้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เริ่มตั้งแต่งวดที่ต้องชำระในเดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ทำให้นางสิริสามารถเลื่อนระยะเวลาการจ่ายบ้านกับธนาคารทั้งส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ย ออกไปได้อีก 2 เดือน
หนี้บ้าน ธนาคารช่วยได้ พร้อมฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ไวรัสรุมเร้า
สำหรับมาตรการผ่อนปรน พักชำระหนี้เงินต้น พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ในระยะที่ 2 ได้ และ สำหรับฟรีแลนซ์คนไหนที่สนใจสามารถเตรียมเอกสารขอยื่นเรื่องพักชำระหนี้บ้านกับธนาคารได้ดังนี้
ทั้งนี้ขั้นตอนการลงทะเบียนและเอกสารเพิ่มเติม จะเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
เชื่อว่าตอนนี้ฟรีแลนซ์หลายคนอาจกำลังลังเลและคำนวณว่า ระหว่างการผ่อนชำระปกติกับพักชำระหนี้ แบบไหนจะสภาพการเงินคล่องตัวสุด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบให้เห็นดังตัวอย่างต่อไปนี้
มนุษย์ฟรีแลนซ์รับตกแต่งภายในบ้านและคอนโด มียอดกู้บ้านราคา 2 ล้านบาท และกำลังประสบปัญหาไม่มีงานทำ เนื่องจากไม่มีผู้ว่าจ้างงาน แลำจำเป็นต้องปิดกิจการรับงานไป แต่ทั้งนี้ยังต้องผ่อนชำระคิดเป็นต่อเดือน 20,000 บาท โดยแบ่งออกเป็นเงินต้น 7,000 บาท ดอกเบี้ย 13,000 บาท ในช่วงที่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ลงทะเบียนพักชำระหนี้ 2 เดือน
ผ่อนชำระปกติ | พักชำระหนี้ |
---|---|
ยอดจำนวนเงินต้นที่จ่ายไป ทั้งหมด 7,000 x 2 = 14,000 บาท ยอดเงินกู้ ลดเหลือ 1,986,000 บาท |
พักชำระหนี้เงินต้น คงจ่ายดอกเบี้ย 13,000 x 2 = 26,000บาท ดังนั้นยอดเงินกู้คงเหลือ 2,000,000 บาท |
พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ดอกเบี้ยรันทุกวัน 13,000 x 2 = 26,000 บาท ดังนั้นยอดเงินกู้เพิ่มขึ้นเป็น 2,026,000 บาท |
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
จากการเปรียบเทียบทั้ง 3 ตัวอย่าง ทำให้เห็นว่าแม้มนุษย์ฟรีแลนซ์จะทำการลงทะเบียนพักชำระหนี้ แต่ยอดของภาระหนี้นั้นไม่ได้ถูกลดน้อยลงตามแต่ละวิธีการผ่อนปรน ดังนั้นหากช่วงระยะเวลาดังกล่าวฟรีแลนซ์คนไหนพอมีกำลังทรัพย์ที่จะผ่อนชำระหนี้ตามปกติ น่าจะวิธีที่ดีที่สุดในการปลดหนี้บ้านได้เร็วยิ่งขึ้น
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2567 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
15 ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ช่วยดูดสารพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2567 | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้าน ต้องผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้าน คอนโด (Refinance) ปี 2567 ธนาคารไหนดี เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารชั้นนำ และเครื่องมือคำนวณเงินกู้เบื้องต้น
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้านผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ดีถึงจะไม่ต้องกังวล ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อได้ความรู้เรื่องการกู้ซื้อบ้านจากแสนสิริ
อัตราดอกเบี้ยบ้าน ล่าสุด อัปเดตประจำปี 2567 จากธนาคารชั้นนำ พร้อมสาระความรู้เกี่ยวกับดอกเบี้ยบ้าน และเครื่องมือคำนวณเงินกู้เบื้องต้น
ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้าน คอนโด (Refinance) ปี 2567 ธนาคารไหนดี เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารชั้นนำ และเครื่องมือคำนวณเงินกู้เบื้องต้น
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้านผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ดีถึงจะไม่ต้องกังวล ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อได้ความรู้เรื่องการกู้ซื้อบ้านจากแสนสิริ
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2567 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
15 ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ช่วยดูดสารพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2567 | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้าน ต้องผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >