เรื่องของ “ทะเบียนบ้าน” เป็นสิ่งที่คนซื้อบ้าน ซื้อคอนโดทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่การแจ้งสมาชิกเข้ามาอยู่บ้าน ซึ่งแน่นอนบางคนอาจกำลังสงสัยความแตกต่างระหว่างเจ้าบ้านและเจ้าของบ้านนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของเอกสาร ขั้นตอนทางกฎหมายที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญของทะเบียนบ้านได้ ดังนี้
ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารทางราชการประเภทหนึ่งที่ออกโดยนายทะเบียนของที่ทำการประจำท้องที่นั้นๆ (เช่นสำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ) โดยทะเบียนบ้านเป็นเอกสารที่แสดงเลขประจำบ้านและรายชื่อบุคคลทั้งหมดที่อยู่ในบ้าน ทั้งนี้รายละเอียดภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วย
สำหรับประเภทของทะเบียนบ้านในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภท
เป็นทะเบียนประจำบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุก ป่าสงวน หรือโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ทั้งทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้ได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวคงมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ใช้สำหรับลงรายการที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ใช้สำหรับลงรายการข้อมูลที่อยู่อาศัยของคนที่มีสัญชาติไทย หรือ คนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ๆ ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ
ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป ได้มีประกาศให้สามารถแจ้งขอทะเบียนบ้านออนไลน์ หรือ ทะเบียนบ้านดิจิทัล ตามขั้นตอนดังนี้
เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สร้างเสร็จ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขอเลขที่บ้านตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 จะไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่ยื่นขอเลขที่บ้านภายใน 15 วันจะถือว่าละเลยและมีโทษปรับ 1,000 บาท
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 สาระสำคัญของประกาศดังกล่าวได้ระบุในข้อปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 โดยให้สำนักงานทะเบียนกลาง จัดให้มีการบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแล้ว สามารถขอรับบริการผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยตนเอง
ซึ่งปัจจุบันในปี 2567 สามารถใช้บริการดู “ทะเบียนบ้านดิจิทัล” ผ่านแอปพลิเคชัน ThaiD
ผู้สนใจสามารถใช้บริการทะเบียนบ้านดิจิทัล สามารถใช้งานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โดยจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ThaiD” สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS ดาวน์โหลดได้ที่ Appstore และสำหรับระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Playstore
หากใครสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงของเจ้าบ้านนั้นคืออะไร แตกต่างอย่างไรกับเจ้าของบ้าน โดยสามารถแยกบทบาทและสิทธิทางกฎหมายได้ดังนี้
เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้
เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้
เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้
เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นนักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้องมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่นๆ ได้
นักลงทุนที่มีบ้านหลายหลัง คอนโดหลายห้อง รู้วิธีการแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว หากอยากเพิ่มจำนวนห้องชุดให้มากกว่านี้ กับโปรโมชันแสนสิริ ที่มอบให้สำหรับผู้ที่จองผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ "พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้นหากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ"
การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ และกำลังมีแผนย้ายบ้านต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้านจะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้
รู้วิธีการย้ายเข้า ย้ายออกทะเบียนบ้านแล้ว หากใครสนใจอยากย้ายทะเบียนบ้านเข้าโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝดน่าอยู่ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการใหม่ อณาสิริ วงแหวน - ลำลูกกา และ อณาสิริ ปิ่นเกล้า - กาญจนาฯ ได้
แจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้าน หลังจากเจ้าบ้านแจ้งเรื่องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเดิมแล้ว เจ้าบ้านจำเป็นต้องแจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยต้องยื่นเอกสารให้กับนายทะเบียนท้องที่ที่ย้ายเข้า หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบแล้วจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ซึ่งมีเอกสารสำหรับย้ายเข้าทะเบียนบ้านดังนี้
สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง และถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นสามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูล: bora.dopa.go.th
ได้ความรู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังซื้อบ้านในตอนนี้ไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้ แนะนำให้รีบคว้าโครงการเด่นทำเลดังกับแสนสิริโปรโมชันดีๆ อย่างโปรโมชันบ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่พร้อมพบประสบการณ์ซื้อบ้าน แสน Smooth ในทุกขั้นตอน
เจ้าบ้าน คือ ผู้ที่มีชื่อครอบครองบ้าน ซึ่งตามกฎหมายทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นไปแจ้งเรื่องต่อนายทะเบียนเมื่อมีเรื่องต่างๆ ดังนี้
ได้ แต่เบื้องต้นต้องรู้ก่อนว่าตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังไหนก็ตาม จะถูกตีความว่าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านหลังหลักของคนๆนั้น และสาระสำคัญของกฎหมายทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ก็คือ เราสามารถมีชื่ออยู่ภายในทะเบียนบ้านได้หลังเดียวเท่านั้น
ไม่จำเป็น เพราะ เจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อใน โฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะ จำหน่าย จ่ายโอน ในที่ดินและบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายแพ่งและพานิชย์
ถ้าในนิยามของคำว่า “เจ้าบ้าน” จะไม่สามารถมีเจ้าบ้านได้ 2 คน เหตุผลเพราะว่าในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักบริหารการทะเบียน
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2567 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
15 ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ช่วยดูดสารพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2567 | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้าน ต้องผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
แนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมวิธีเลือก ทำเล ฟังก์ชัน ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้อยู่แล้วสบาย ปลอดภัยในระยะยาว
มาดูวิธีคิดตารางเมตรง่ายๆ พร้อมการหาตารางเมตรอย่างละเอียดที่จะช่วยให้คำนวณพื้นที่ใช้สอยบ้าน คอนโดแบบมืออาชีพได้ย่างถูกต้อง
บ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย ที่จะช่วยให้อยู่แล้วปัง อยู่แล้วสบายทั้งครอบครัว มีทิศไหนบ้าง ต้องรีบไปดูกัน
แนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมวิธีเลือก ทำเล ฟังก์ชัน ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้อยู่แล้วสบาย ปลอดภัยในระยะยาว
มาดูวิธีคิดตารางเมตรง่ายๆ พร้อมการหาตารางเมตรอย่างละเอียดที่จะช่วยให้คำนวณพื้นที่ใช้สอยบ้าน คอนโดแบบมืออาชีพได้ย่างถูกต้อง
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2567 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
15 ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ช่วยดูดสารพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2567 | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้าน ต้องผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >