โดย Sansiri Editorial Team
อัปเดต :  28/10/2024
โดย Sansiri Editorial  
อัปเดต :  28/10/2024 โฮมแคร์
วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้อร่อย ไม่ขม แถมปลอดภัย ไร้สารพิษ

การปลูกผักกินเอง เป็นหนึ่งในกิจกรรมช่วยให้ใช้เวลาว่างที่มีให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังช่วยทำให้เรามีผักสด ๆ อร่อย ๆ ได้กินในทุกวัน ที่สำคัญยังมั่นใจได้ว่าผักที่รับประทานนั้นมีความปลอดภัย ไร้สารเคมีตกค้าง สำหรับใครที่กำลังสนใจการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้แสนสิริได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มาฝากกัน พร้อมทั้งแชร์เคล็ดลับว่าปลูกผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรไม่ให้ขม พร้อมทั้งให้ผลผลิตที่ดี


ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์



ผักไฮโดรโปนิกส์คืออะไร


ผักไฮโดรโปนิกส์คืออะไร


ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponic) เป็นระบบการปลูกผักในน้ำ โดยมีการผสมปุ๋ยน้ำเพื่อใช้เลี้ยงผัก ผักไฮโดรโปนิกส์ จึงหมายถึงผักที่เลี้ยงให้มีการเจริญเติบโตในน้ำ โดยให้ส่วนรากจะดูดซึมสารอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงลำต้น ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมปลูกเป็นพืชระยะสั้น ที่ใช้เวลาเพียง 40-60 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ อย่างผักจำพวกเรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด และผักกาดหอม เป็นต้น แต่ผักชนิดอื่น ๆ อย่างผักบุ้ง มะเขือเทศ หรือสตอรว์เบอร์รีก็สามารใช้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการเลือกภาชนะในการปลูกให้มีความเหมาะสม เพื่อให้มีพื้นที่ในการเจริญเติบโต




ประเภทของระบบที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์นั้นเป็นรูปแบบของการปลูกผักในน้ำ โดยรากของผักจะมีการดูดซึมสารอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงลำต้น สำหรับระบบที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้


  1. DFT (Deep Flow Technique)

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique หรือบางคนอาจจะเรียกวิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ลักษณะนี้ว่า Floating Hydroponic Systems หรือ ระบบไฮโดรโปนิกส์ลอยน้ำ เพราะวิธีการปลูกประเภทนี้จะปลูกพืชบนแผ่นโฟมหรือวัสดุที่สามารถลอยน้ำได้ เพื่อให้รากช่วยยึดลำต้นไว้ให้ลอยได้นั่นเอง


ประเภทของระบบที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ - DFT (Deep Flow Technique)


  1. DRFT (Dynamic Root Floating Technique)

DRFT หรือ Dynamic Root Floating Technique เป็นระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบระบบกึ่งน้ำลึก หรือการปลูกที่ใช้น้ำมาก ๆ จึงเหมาะสำหรับการปลูกผักไทย ที่มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างนาน ที่สำคัญการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์แบบ DRFT ยังต้องการค่า EC (Electrical Conductivity) หรือ ค่าความเข้มข้นของปุ๋ยที่สูง นอกจากนี้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบกึ่งน้ำลึกจะต้องหมั่นเติมออกซิเจนให้กับน้ำ และทำระบบหมุนเวียนน้ำให้มีคุณภาพ เพื่อที่ผักจะได้รับสารอาหารที่ทั่วถึง


  1. FAD (Food and Drain)

FAD (Food and Drain) เป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยจะปล่อยให้รากของผักแช่น้ำไว้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ผักได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ และค่อย ๆ ปล่อยน้ำออก แล้วปล่อยน้ำเข้าใส่สารละลายอีกครั้ง ให้พืชได้รับสารอาหาร โดยจะทำแบบนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าพืชจะถึงเวลาเก็บเกี่ยว


ประเภทของระบบที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ - FAD (Food and Drain)


  1. NFT (Nutrient Film Technique)

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT (Nutrient Film Technique) เป็นประเภทของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ได้รับนิยมอย่างมากในประเทศไทย สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ประเภทนี้จะเรียกอีกอย่างว่าการปลูกผักแบบน้ำบาง โดยจะต้องมีการวางระบบน้ำให้ไหลผ่านพืชอย่างทั่วถึง และมีการแช่รากให้โดนน้ำโดยตรง เพื่อที่จะได้ดูดซึมสารละลายขึ้นไปเลี้ยงลำต้นได้ ที่สำคัญจะต้องมีการวางถาดปลูกให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำที่ไหลผ่านรากเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายฟิล์ม


ประเภทของระบบที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ - NFT (Nutrient Film Technique)


  1. NFLT (Nutrient Flow Technique)

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ Nutrient Flow Technique (NFLT) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากจะต้องมีการวางระบบน้ำ พร้อมทั้งติดตั้งปั๊มน้ำ เพื่อทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ และช่วยให้พืชได้รับสารละลายอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นรูปแบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ใช้งบประมาณที่สูง


อณาสิริ วงแหวน - ลำลูกกา

บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด Modern Japanese ใกล้ถนนรังสิต - นครนายก และวงแหวนกาญจนาฯ ด่านธัญบุรี เชื่อมต่อทุกเส้นทางสะดวกสบาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

ราคาเริ่มต้นที่ 3.99ล้านบาท




ภาชนะอะไรบ้างที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้

การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์เป็นรูปแบบการปลูกผักด้วยน้ำ ซึ่งสามารถใช้ภาชนะได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้ปลูกผัก ดังนี้


  1. กล่องโฟม

กล่องโฟมเป็นภาชนะที่หลาย ๆ คนใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะหาได้ง่าย และราคาไม่แพง สำหรับบ้านที่มีใดที่มีกล่องโฟมอยู่แล้ว ให้เจาะรูบนกล่องโฟม โดนเว้นให้มีความห่างอย่างเหมาะสม เพื่อเผื่อพื้นที่ให้พักได้เติบโต แล้วใส่น้ำลงในกล่องโฟม เพียงเท่านี้ก็จะได้อุปกรณ์สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ง่าย ๆ แล้ว


  1. ขวดน้ำ

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการปลูกผักได้ ถือเป็นอุปกรณ์ง่าย ๆ ปลูกได้ไม่ซับซ้อน โดยการตัดขวดน้ำ 1 ใน 3 แล้วใช้ด้านปากขวดคว่ำลงบนขวดอีกส่วนที่ตัดไว้ แล้วใช้ฟองน้ำจุกที่ปากขวด เพียงเท่านี้ก็จะได้ภาชนะสำหรับการปลูกผักที่ง่าย ประหยัด เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย อย่างบ้านแฝด หรือผู้ที่พักอาศัยในคอนโด


  1. ท่อ PVC เจาะรู

สำหรับบ้านใดที่พอจะมีพื้นที่ว่าง การใช้ท่อ PVC (Polyvinyl chloride) สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะจะช่วยให้ควบคุมแมลงได้ดี อีกทั้งยังทำให้ผักเจริญเติบโตโดยไม่เสี่ยงต่อการติดโรค แต่จะต้องมีการต่อรางท่อ PVC และติดตั้งระบบน้ำ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าสองรูปแบบด้านบน




เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนทำการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

เมื่อเข้าใจระบบการปลูกไฮโดรโปนิกส์กันแล้วว่ามีแบบใดบ้าง แต่ละระบบเหมาะกับการปลูกผักประเภทใด ขั้นตอนต่อไปก่อนทำการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เพื่อลงมือปลูก ไปดูกันว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้นั้นมีอะไรบ้าง


  1. เลือกภาชนะที่ใช้ในการปลูก เช่น กล่องโฟม ขวดพลาสติก หรือท่อ PVC
  2. จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ
  3. ฟองน้ำ
  4. ถ้วยปลูก
  5. สารละลายอาหารของพืช
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนทำการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์




วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในกล่องโฟม

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้รับประทานเองนั้น นอกจากจะได้ผักสด ๆ ไว้ประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัวแล้ว ยังได้ผักที่มีความสดใหม่ สะอาด ปราศจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

  1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการปลูก เพื่อที่จะได้เลือกระบบในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้มีความเหมาะสม
  2. จัดเตรียมบริเวณที่ต้องการปลูกผักให้พร้อม โดยเลือกพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง ฝนไม่สาด และอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนอบอ้าว
  3. เริ่มต้นการเพาะต้นกล้า โดยการแช่เมล็ดในฟองน้ำทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
  4. เจาะรูบนฝากล่องโฟมให้ห่างกันรูละ 10 เซนติเมตร
  5. เตรียมน้ำสำหรับการปลูก โดยผสมสารละลายอาหารพืชลงไป และจะต้องคำนวณปริมาณสารละลายให้มีความเหมาะสมกับชนิดของพืชด้วย หากมีการใช้สารละลายมากเกินความจำเป็น ผักจะดูดซึมไนโตรเจน (Nitrogen) ไปสะสมไว้ในรูปแบบของสารไนเตรท (Nitrate) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
  6. นำถ้วยปลูกที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในรูที่เจาะ แล้วนำต้นกล้าที่เพาะไว้ใส่ลงไปในถ้วย


ฮาบิเทีย พราวด์ ประชาอุทิศ 72

บ้านทำเลดี จากแสนสิริ ใกล้ทางด่วน และพระราม 3

ราคาเริ่มต้นที่ 5.99ล้านบาท




วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบน้ำนิ่ง


วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบน้ำนิ่ง


การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบน้ำนิ่งเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย ประหยัดพื้นที่ และไม่จำเป็นต้องใช้ดิน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกผักเองที่บ้านและใช้พื้นที่น้อย ซึ่งระบบนี้ใช้หลักการให้น้ำและสารอาหารโดยตรงแก่รากของพืช ผ่านทางน้ำที่อยู่ในภาชนะ ทำให้วิธีนี้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้ดี และยังเป็นวิธีการที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย

  1. เพาะเมล็ดในที่มืด เริ่มต้นโดยการเพาะเมล็ดในห้องมืดประมาณ 2 คืน โดยควรเพาะในช่วงหลัง 4 โมงเย็น นวดฟองน้ำให้ชุ่มด้วยน้ำเพื่อใช้ในการเพาะเมล็ด ใส่เมล็ดลงในฟองน้ำเพียง 1 เมล็ดต่อหลุม โดยให้เมล็ดอยู่ระดับเดียวกับผิวของฟองน้ำ จากนั้นฉีดสเปรย์น้ำให้ทั่วฟองน้ำ แล้วเก็บในห้องมืดไว้ 2 คืน
  2. ตากแดดยามเช้า นำฟองน้ำที่เพาะเมล็ดออกมาตากแดดช่วงเช้าประมาณ 5 วัน ในระหว่างนี้ควรฉีดสเปรย์น้ำให้ชุ่มทั่วฟองน้ำ และเติมน้ำลงในถาดให้ระดับน้ำสูงถึงครึ่งหนึ่งของฟองน้ำเสมอ
  3. ปลูกต้นกล้าและเติมปุ๋ย เตรียมน้ำผสมปุ๋ยลงในภาชนะปลูกต้นกล้าล่วงหน้าประมาณ 1 วัน โดยใช้ปุ๋ย A และปุ๋ย B ในปริมาณที่เท่ากัน เมื่อพร้อมแล้วให้เสียบต้นกล้าลงในฟองน้ำ โดยให้รากต้นกล้าสัมผัสน้ำให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันฟองน้ำต้องสัมผัสน้ำเพียงเล็กน้อยเมื่อวางลงในภาชนะปลูก
  4. เติมน้ำระหว่างการเจริญเติบโต หลังจากปลูกต้นกล้าประมาณ 25 วัน น้ำในภาชนะจะลดลง ควรเติมน้ำเปล่าจนถึงระดับครึ่งของภาชนะ และก่อนเก็บเกี่ยว 2 วัน ให้ดูดน้ำออกให้หมด แล้วเติมเฉพาะน้ำเปล่าในภาชนะ
  5. การเก็บเกี่ยวผัก ควรเก็บเกี่ยวผักในวันที่มีแดด และเก็บเกี่ยวในช่วงบ่าย เนื่องจากเป็นช่วงที่ปริมาณไนเตรทในผักลดลง การเก็บผักในช่วงแดดจัดจะช่วยให้พืชใช้ประโยชน์จากไนเตรทได้มากขึ้น




วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ระเบียงคอนโด

สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในคอนโดและต้องการปลูกผักไร้สารพิษเอง ลองปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ระเบียงตามวิธีง่าย ๆ นี้ได้เลย

  1. เตรียมฟองน้ำลูกเต๋าขนาด 1?1 นิ้ว
  2. กรีดฟองน้ำเป็นเครื่องหมายบวกที่ตรงกลาง แต่ไม่ให้ทะลุ
  3. แช่ฟองน้ำในน้ำให้ชุ่มแล้วปล่อยให้ฟองน้ำดูดน้ำไว้ครึ่งหนึ่ง
  4. วางเมล็ดลงตรงกลางรอยกรีด อย่ากดเมล็ดลึก เพราะอาจทำให้เน่าได้
  5. รอ 3-4 วันจนต้นอ่อนงอก
  6. เตรียมกระบะหรือภาชนะปลูกตามขนาดที่สะดวก เช่น กล่องพลาสติก
  7. ตัดโฟมให้พอดีกับภาชนะ และเจาะช่องขนาด 1?1 นิ้วเพื่อใส่ฟองน้ำ
  8. เตรียมน้ำผสมปุ๋ย โดยเริ่มจากน้ำ 1 ลิตร ใส่ปุ๋ย A (2 ซีซี) คนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 10 นาที
  9. ใส่ปุ๋ย B (2 ซีซี) แล้วคนให้เข้ากัน
  10. วางฟองน้ำที่มีต้นอ่อนลงในโฟม ระวังอย่าให้รากเสียหาย
  11. ตั้งภาชนะปลูกที่ระเบียง และควรบังแดดจัดเพราะผักไม่ทนต่อความร้อนมาก
  12. หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ ให้เพิ่มปุ๋ย A และ B เป็น 4 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร
  13. ตรวจสอบระดับน้ำและเติมน้ำตามสูตรเดิม (น้ำ 1 ลิตร ต่อปุ๋ย 4 ซีซี)
  14. เมื่อผักเติบโตในช่วง 5-6 สัปดาห์ ให้เทน้ำปุ๋ยออกแล้วเติมน้ำเปล่าแทน 5-6 วันก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อให้ผักคลายการสะสมปุ๋ย

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ผักไฮโดรโปนิกส์สด ๆ ไว้รับประทานเองแล้ว แต่ระหว่างที่ปลูกควรหมั่นสังเกตระดับน้ำอยู่เสมอ และรักษาระดับของน้ำ อยู่เสมอ ที่สำคัญจะต้องมีการเปลี่ยนสารละลายทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพื่อที่ผักจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่




ประโยชน์ของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักแต่ละแบบก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประโยชน์ของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมี ดังนี้

  1. ได้ผักที่มีความสด สะอาดปลอดภัย ไม่ต้องกังวลว่าจะมีสารตกค้างในผัก
  2. ได้รับประทานผักสด ๆ ที่มีความหวาน กรอบ ซึ่งช่วยให้มีความสุขกับการรับประทานผักมากขึ้น
  3. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมีรูปแบบให้เลือกปลูกได้หลายระบบ สามารถปลูกได้แม้จะมีพื้นที่ที่จำกัด ที่สำคัญไม่ต้องใช้แรงงานในการเตรียมพื้นที่มากนัก
  4. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกผักในดินมากถึง 10 เท่า ทำให้ประหยัดการใช้น้ำ
  5. ใช้เมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกที่น้อย ไม่เปลืองเมล็ดพันธุ์
  6. ผักบางชนิดมีการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าการปลูกในดิน ทำให้ได้กินผักเร็วขึ้น




เก็บผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรไม่ให้ขม

หลาย ๆ คนอาจจะมีประสบการณ์ไม่ดีกับการรับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะมีรสชาติที่ขม จนทนรับประทานต่อไม่ไหว สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์นั้น จริง ๆ แล้วไม่ได้มีรสชาติที่ขม แต่ที่หลายคนกินแล้วรู้สึกขมนั้นเกิดจากการรับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีการเก็บเกี่ยวก่อนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หรือปล่อยให้ผักแก่แล้วจึงเก็บเกี่ยวก็จะทำให้ผักนั้นมีรสชาติขม นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวในช่วงที่แดดจัด หรือช่วงที่ให้สารละลายมีความเข้มข้นมาก ผักก็จะมียางเยอะจนทำให้ผักนั้นมีรสชาติขมได้ สำหรับเคล็ดลับการเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ให้ขมนั้นจะต้องเก็บเกี่ยวตามอายุการเก็บเกี่ยว ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 38-45 วัน และควรเก็บในช่วงเช้าหรือเย็น เวลาที่แดดไม่จัด นอกจากนี้การแช่น้ำทิ้งไว้ 30 นาทีก่อนรับประทานยังช่วยลดรสชาติขมของผักได้อีกด้วย




แนะนำผักที่สามารถปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้

ผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นรูปแบบของการปลูกผักโดยใช้น้ำ ซึ่งสามารถปลูกผักได้หลายชนิด แต่จะต้องเลือกระบบที่ใช้ปลูกให้มีความเหมาะสม สำหรับผักที่จะมาแนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์มีด้วยกัน ดังนี้


  1. กรีนโอ๊ค (Green Oak Lettuce) และ เรดโอ๊ค (Red Oak Lettuce)

แนะนำผักที่สามารถปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้ - กรีนโอ๊ค และ เรดโอ๊ค

กรีนโอ๊คและเรดโอ๊คเป็นผักสลัดที่มีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกัน โดยจะมีต้นที่เป็นทรงพุ่ม ใบมีลักษณะที่หยิก และซ้อนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่สี โดยกรีนโอ๊คจะมีสีเขียว และเรดโอ๊คใบเป็นสีแดง รสชาติของกรีนโอ๊ค และเรดโอ๊คนั้นจะมีความฉ่ำ กรอบ รับประทานง่าย มีวิตามิน และแร่ธาตุที่สูง อีกทั้งยังมีกากใยที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี เหมาะสำหรับทำสลัด หรือจะกินแกล้มกับน้ำพริกก็อร่อยไปอีกแบบ สำหรับการปลูกกรีนโอ๊คและเรดโอ๊คเหมาะสำหรับระบบ DFT เพราะระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวนั้นสั้น ที่สำคัญจะต้องเลือกทำเลที่โดนแดดตลอด เพราะผักชนิดนี้ชอบแสงแดด


  1. บัตเตอร์เฮด (Butter Head Lettuce)

บัตเตอร์เฮดเป็นผักสลัดชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะปลายใบมนกลม ขอบใบหยิกเล็กน้อย และใบซ้อนกันเป็นพุ่มคล้ายกลีบดอกไม้ สำหรับบัตเตอร์เฮดเป็นผักที่มีระยะเวลาในการปลูกประมาณ 44 - 55 วัน นิยมปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ DFT อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกากใยที่ช่วยให้ชับถ่ายดี อีกทั้งยังมีวิตามินบี และวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้มีความแข็งแรง ไม่ป่วยได้ง่าย ๆ สำหรับใครที่อยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนัก การรับประทานบัตเตอร์เฮดนั้นช่วยได้เพราะมีปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำ

แนะนำผักที่สามารถปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้ - บัตเตอร์เฮด


  1. ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก (Frillice Iceberg)

แนะนำผักที่สามารถปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้ - ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก (Frillice Iceberg)

ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กเป็นผักสลัดที่ลำต้นมีความอวบน้ำ ปลายใบหยิกเป็นฝอย ให้รสชาติที่กรอบ ฉ่ำ สำหรับฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กเป็นผักสลัดที่สามารถปลูกได้ง่าย มีอายุในการเก็บเกี่ยวประมาณ อายุ 35 – 45 วัน ซึ่งถือว่าสั้น จึงเหมาะกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ DFT และจะต้องเลือกสถานที่ปลูกที่โดนแดดตั้งแต่ 6 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป เพื่อให้ผักมีการเจริญเติบโตที่ดี ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กเป็นผักที่สามารถทำได้หลายเมนู ไม่ว่าจะทำสลัด ทำแซนด์วิช หรือกินเป็นผักเคียงก็อร่อย


  1. โหระพา กะเพรา และสะระแหน่

โหระพา กะเพรา และสะระแหน่เป็นผักไทย ๆ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ สำหรับครอบครัวใดที่ทำเมนูอาหารไทยบ่อย ๆ แนะนำว่าควรปลูกผักเหล่านี้ติดไว้ เพราะเด็ดรับประทานง่าย อีกทั้งยังนำยอดมาปักชำได้ง่าย และเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตไวกว่าการเพาะด้วยเมล็ด นอกจากโหระพา กะเพรา และสะระแหน่ ขึ้นฉ่ายก็ยังปลูกในน้ำได้ดีกว่าการปลูกที่ดินเช่นกัน


  1. ผักบุ้ง

ผักบุ้งเป็นผักที่หลาย ๆ คนคาดไม่ถึงว่าจะสามารถปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ได้ สำหรับการปลูกผักบุ้งนั้นสามารถปลูกได้ทั้งแบบระบบน้ำนิ่ง และระบบ DFT โดยเจาะรูบนกล่องให้ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร เนื่องจากลำต้นของผักบุ้งมีความเรียวยาว หากปลูกห่างกันมากเกินไปอาจทำให้ลำต้นล้มได้ง่าย การปลูกผักบุ้งด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์นั้นจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการปลูกในดิน อีกทั้งผักบุ้งยังทำได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูยอดฮิตอย่างผัดผักบุ้งไฟแดง ยำผักบุ้งทอดกรอบ หรือจะนำมาทำชาบูก็อร่อยไม่แพ้เมนูอื่น ๆ เลย




การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นรูปแบบในการปลูกผักโดยใช้น้ำ และสารละลาย เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งรูปแบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมในประเทศไทยคือ DFT และ NFT ส่วนผักที่นิยมปลูกส่วนใหญ่จะเป็นผักสลัด อย่างกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค หรือบัตเตอร์เฮด นอกจากนี้ผักไทยอย่างผักบุ้ง โหระพา ขึ้นฉ่าย และสะระแหน่ยังสามารถปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ได้เช่นกัน ที่สำคัญยังให้ผลผลิตที่ดีกว่าการปลูกในดินด้วย แต่ก่อนที่จะปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความพร้อม ทั้งเมล็ดพันธุ์ ถ้วยปลูก ฟองน้ำ และสารละลาย สำหรับวิธีการปลูกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียง เพาะกล้าก่อนที่จะนำไปลงในภาชนะปลูก และคอยสำรวจระดับน้ำ พร้อมทั้งเปลี่ยนสารละลายทุก ๆ 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้ผักมีการเจริญเติบโตที่ดี


ขอบคุณที่มา บ้านและสวน, Spring Green Evolution, kapook.com, H2O Hydro Garden, nsru.ac.th, ResearchGate, thaihydrohobby.com

#Tag : Eco-friendly
ยูนิตบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ราคาพิเศษ

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2568 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ไถ่ถอนจำนองคืออะไร  มีขั้นตอนอะไรบ้าง เรื่องที่คนกู้บ้านต้องรู้ อ่านเพิ่มเติม >


  1. รถไฟฟ้าสายสีม่วง เชื่อมต่อโครงการน่าอยู่ใจกลางเมืองและปริมณฑล อ่านเพิ่มเติม >


  1. ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >


  1. 10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ด้วยตนเองเพื่อกำจัดคราบสกปรก อ่านเพิ่มเติม >


โครงการที่น่าสนใจ

โครงการพร้อมอยู่
บุราสิริ ปัญญาอินทรา

บุราสิริ ปัญญาอินทรา

บ้านเดี่ยว ปัญญาอินทรา ดีไซน์ใหม่ สไตล์อังกฤษ บนทำเลศักยภาพ พร้อมพื้นที่ส่วนกลางกว่า 13 ไร่ ทั้งคลับเฮาส์ริมทะเลสาบ และสวนขนาดใหญ่ 2 แห่ง

เริ่มต้นที่ 9.9 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
คณาสิริ บางนา

คณาสิริ บางนา

บ้านเดี่ยวพร้อมอยู่ ฟังก์ชัน 3-4 ห้องนอน ดีไซน์ Mid-Century 70's บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกลางครบ ใกล้ ม.ABAC ถนนบางนา และลาดกระบัง

เริ่มต้นที่ 3.59 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
บุราสิริ พระราม 2

บุราสิริ พระราม 2

บ้านเดี่ยว พระราม 2 บรรยากาศรีสอร์ท เงียบสงบ พร้อมส่วนกลางครบครัน ทั้ง สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ลู่วิ่ง เดินทางง่ายใกล้ทางด่วน

เริ่มต้นที่ 7.99 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
ฮาบิเทีย พราวด์ ประชาอุทิศ 72

ฮาบิเทีย พราวด์ ประชาอุทิศ 72

บ้านแฝด พระราม 2 กับแนวคิด Biophilic Design ทำเลดี ใกล้ทางด่วน และพระราม 3 ในสังคมส่วนตัว เพียง 76 ยูนิต

เริ่มต้นที่ 6.99 ล้านบาท
โครงการใหม่
สราญสิริ ศรีวารี 2

สราญสิริ ศรีวารี 2

บ้านเดี่ยว ศรีวารี-ลาดกระบัง สไตล์ Urban Farmhouse วิวทะเลสาบ ใกล้ทั้งทางด่วนพระราม9 - มอเตอร์เวย์ และสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 8 กม.

เริ่มต้นที่ 8.59 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
สราญสิริ เวสต์เกต

สราญสิริ เวสต์เกต

บ้านเดี่ยว เวสเกต-บางใหญ่ สไตล์ Modern Farmhouse ใกล้ MRT คลองบางไผ่ เพียง 5 นาที สะดวกสบายต่อการเดินทาง

เริ่มต้นที่ 7.99 ล้านบาท
โครงการใหม่
อณาสิริ ปิ่นเกล้า - กาญจนาฯ

อณาสิริ ปิ่นเกล้า - กาญจนาฯ

บ้านเดี่ยว และบ้านแฝด ปิ่นเกล้า จากแสนสิริ สไตล์ Modern Barn House ใกล้ทางคู่ขนานบรมราชชนนี รถไฟฟ้า และทางด่วนศรีรัช

เริ่มต้นที่ 4.99 ล้านบาท
โครงการใหม่
อณาสิริ อยุธยา 2

อณาสิริ อยุธยา 2

บ้านเดี่ยว และบ้านแฝด อยุธยา Modern Japanese ติดถนนใหญ่ ใกล้นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินและโรจนะ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้าน เชื่อมต่อทุกเส้นทางอย่างง่ายดาย

เริ่มต้นที่ 4.19 ล้านบาท

บทความที่เกี่ยวข้องกับ “โฮมแคร์”

10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ด้วยตนเองเพื่อกำจัดคราบสกปรก

10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ให้ดูดีเหมือนใหม่ พร้อมสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรต้องล้างเครื่องซักผ้า

10 เทคนิคจัดบ้านใหม่ แต่งบ้านสวย แบบประหยัดค่าไฟ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังปวดหัวกับค่าไฟที่พุ่งไม่หยุด แนะนำให้ส่อง 10 เทคนิคจัดบ้าน ที่ได้ทั้งความสะอาด สวย และประหยัดค่าไฟ ทีเดียวจบ

How to ทิ้ง เฟอร์นิเจอร์เก่า

เคลียร์บ้าน จัดบ้าน แปลงโฉมบ้านใหม่ ต้องรู้วิธีจัดการเฟอร์นิเจอร์เก่า หมดสภาพทิ้งที่ไหน อยากขายต่อทำอย่างไร แล้วถ้าบริจาคที่ไหนรับบ้าง คำตอบทั้งหมดถูกรวมไว่ที่นี่ที่เดียว

10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ด้วยตนเองเพื่อกำจัดคราบสกปรก

10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ให้ดูดีเหมือนใหม่ พร้อมสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรต้องล้างเครื่องซักผ้า

10 เทคนิคจัดบ้านใหม่ แต่งบ้านสวย แบบประหยัดค่าไฟ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังปวดหัวกับค่าไฟที่พุ่งไม่หยุด แนะนำให้ส่อง 10 เทคนิคจัดบ้าน ที่ได้ทั้งความสะอาด สวย และประหยัดค่าไฟ ทีเดียวจบ

ไม่พลาด ข่าวสารและบทความดีๆ

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อรับข่าวสาร และข้อมูลสิทธิพิเศษจากแสนสิริก่อนใคร

ประเภทโครงการที่คุณสนใจ


เพื่อให้ท่านทราบวิธีและกระบวนการ ที่เราดำเนินการจัดเก็บข้อมูล วัตถุประสงค์การใช้ข้อมูล ​
ท่านสามารถศึกษารายละเอียด แบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ได้ที่นี่ คลิก

ยูนิตบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ราคาพิเศษ

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2568 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ไถ่ถอนจำนองคืออะไร  มีขั้นตอนอะไรบ้าง เรื่องที่คนกู้บ้านต้องรู้ อ่านเพิ่มเติม >


  1. รถไฟฟ้าสายสีม่วง เชื่อมต่อโครงการน่าอยู่ใจกลางเมืองและปริมณฑล อ่านเพิ่มเติม >


  1. ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >


  1. 10 วิธีล้างเครื่องซักผ้า ถังซักผ้า ด้วยตนเองเพื่อกำจัดคราบสกปรก อ่านเพิ่มเติม >