“ภาษีมรดก” เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณเป็นทายาทที่อยู่ในรายชื่อรับมรดกจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สายเลือด ควรรู้ไว้ เพราะอาจจำเป็นต้องเสียภาษีมรดกโดยไม่รู้ตัว
ก่อนจะไปทำความรู้จักกับภาษีมรดก ต้องเข้าใจคำว่า “มรดก” ในพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก 2558 หมายถึง เมื่อพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติได้เสียชีวิต ทรัพย์สินหรือมรดกของบุคคลนั้น ย่อมถูกตกทอดให้แก่ทายาททันที ซึ่งหมายรวมถึงทายาทต้องสืบทอดหนี้สินของผู้ตายไปพร้อมกับทรัพย์สินด้วยเช่นกัน
เหตุนี้จึงมีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบไม่เกินมูลค่ามรดกที่รับมา ทั้งนี้คำจำกัดความของทายาทที่ได้รับมรดก จะเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายและทายาทโดยพินัยกรรม ทั้งนี้หากมรดกมีจำนวนมาก มูลค่ามหาศาล ทายาทอาจจำเป็นต้องเสียภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด
ภาษีมรดก (Inheritance Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดก โดยมีมูลค่ามรดกสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท ผู้รับมรดกจึงมีหน้าที่เสียภาษี ในอัตรา 5-10% สำหรับมรดกส่วนเกิน 100 ล้านบาท ตามที่กฎหมายเกี่ยวข้องกับภาษีรับมรดกกำหนด ซึ่งได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก มาตรา 1599 - มาตรา 1755, พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558, พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 และ พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559
ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก ทำได้วันนี้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า
ทายาทที่ได้รับมรดกตามสิทธิทางกฎหมาย หรือพินัยกรรม เมื่อหักลบหนี้สินตกทอดจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท จำเป็นต้องเสียภาษีส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดกดังนี้
ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559 มีดังนี้
ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ทายาท | อัตราภาษีมรดก |
---|---|
บุคคลทั่วไป (ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด) |
10% |
พ่อแม่ |
5% |
ปู่ ย่า ตา ยาย |
5% |
ผู้สืบสันดาน |
5% |
พื้นที่ความสุข ความอบอุ่นครอบครัว อณาสิริ พายัพ
หากทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท แน่นอนว่าต้องเสียภาษีมรดก และทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในกลุ่มแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
มีทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกแล้ว ย่อมมีทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีมรดกตามประเภทหรือรายชื่อที่กำหนดในกฎกระทรวงดังนี้
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง
หากใครรู้ตัวว่ากำลังได้รับมรดกมหาศาลจากพ่อแม่ และเมื่อรวมมูลค่าเกิน 100 ล้าน ลองมาคำนวณกันว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ซึ่งโดยปกติกรมสรรพากรจะคิดอัตราภาษีคงที่ 5% และสามารถคำนวณยอดที่ต้องจ่ายภาษีมรดกได้ดังนี้
ถ้าอยากรู้ว่ามรดกที่ได้รับจะต้องมีส่วนที่ต้องเสียภาษีมรดกเท่าไหร่ สามารถคำนวณได้จาก
มูลค่ามรดกสุทธิ - 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
*มูลค่ามรดกที่ไม่ต้องเสียภาษี ตาม พ.ร.บ. การรับภาษีมรดก
ตัวอย่างการคำนวณมูลค่าภาษีมรดก:
นายแสน เป็นผู้ได้รับมรดกจากคุณพ่อที่เสียชีวิต เป็นที่ดินมูลค่า 200 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใดๆ มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี คือ 200,000,000 - 100,000,000 = 100,000,000 บาท
มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 5% = ภาษีมรดก
ตัวอย่างการคำนวณภาษีมรดก:
มรดกของนายแสนสิริ คือ 100 ล้านบาท ดังนั้นนายแสนสิริ จึงต้องเสียภาษีมรดกอัตราคงที่ 5% จะเท่ากับ 100,000,000 x 5% = 5,000,000 บาท
มาถึงกรณีผู้รับมรดกจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สายเลือด และมูลค่ามรดกเกิน 100 ล้าน กรมสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีอยู่ที่ 10% ซึ่งสามารถคำนวณยอดที่ต้องจ่ายภาษีมรดกได้ดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณมูลค่าภาษีมรดก:
นายสิริ ได้รับมรดกจากเจ้านายที่เสียชีวิตไป เป็นบ้านพร้อมที่ดิน คอนโดใกล้รถไฟฟ้า โซนสุขุมวิท และรถยนต์ 1 คัน รวมมูลค่า 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใดๆ มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี คือ 150,000,000 - 100,000,000 = 50,000,000 บาท
นำมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีมาคิดภาษีมรดกต่อโดยใช้สูตรตามนี้
มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 10% = ภาษีมรดก
ดังนั้น มรดกของนายสิริ คือ 50 ล้านบาท ดังนั้นนายแสนสิริ จึงต้องเสียภาษีมรดกอัตราคงที่ 10% จะเท่ากับ 50,000,000 x10% = 5,000,000 บาท
รับมรดกที่สะท้อนความเป็น Hidden Gem ในตัวเอง กับคอนโดเวีย 61
ผู้ที่ได้รับมรดกและจำเป็นต้องเสียภาษีมรดก ทางกรมสรรพากรแนะนำให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับมรดก โดยสามารถค้นหาแบบยื่นภาษีมรดก ผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ ทั้งนี้มีรายละเอียดการยื่นแบบเสียภาษีมรดก แบ่งออกเป็น 4 กรณี
เคล็ดลับบริหารค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน ค่าส่วนกลางและกู้ตกแต่ง
หากผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีความต้องการยื่นคำร้องของผ่อนจ่าย สามารถทำได้ดังนี้
ทั้งนี้ผู้ยื่นคำร้องขอผ่อนจ่ายภาษี ต้องจัดให้มีหลักประกัน ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้อง หากไม่มีหลักประกันอย่างครบถ้วนตามที่แจ้งไว้ภายในกำหนดเวลา จะถูกตัดสิทธิ์ในการผ่อนจ่ายภาษี
ทรัพย์สินที่จำเป็นต้องเสียมรดกได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม, หลักทรัพย์, เงินฝาก, ยานพาหนะ และทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ
หากคุณได้รับมรดก และมรดกนั้นมีมูลค่าไม่ถึง 100 ล้าน ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีมรดก
การวางแผนภาษีมรดก สามารถทำได้ 4 วิธีคือ
เข้าใจเรื่องภาษีมรดกแล้ว อย่าวางแผนมรดกที่ดีในอนาคตให้ลูกหลาน กับข้อเสนอสุดพิเศษเพื่อคนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด โดยเฉพาะจากแสนสิริ
ขอบคุณที่มา กรมสรรพากร, DDproperty
อัตราดอกเบี้ยบ้าน อัปเดต ปี 2567 ทั้งสินเชื่อบ้าน - คอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู 30 สถานี เชื่อมต่ออะไรบ้าง มาอัปเดตกัน อ่านเพิ่มเติม >
คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ Pet friendly vs. Pet allowed ต่างกันตรงไหน | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
เช็กชื่อต้นไม้ สรรพคุณเด่น เติบโตร่ำรวย ปลูกง่ายแม้ในคอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
จัดโต๊ะหมู่บูชายังไงให้ถูกต้อง กับทิศทางการตั้งโต๊ะหมู่บูชา อ่านเพิ่มเติม >
แนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมวิธีเลือก ทำเล ฟังก์ชัน ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้อยู่แล้วสบาย ปลอดภัยในระยะยาว
มาดูวิธีคิดตารางเมตรง่ายๆ พร้อมการหาตารางเมตรอย่างละเอียดที่จะช่วยให้คำนวณพื้นที่ใช้สอยบ้าน คอนโดแบบมืออาชีพได้ย่างถูกต้อง
บ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย ที่จะช่วยให้อยู่แล้วปัง อยู่แล้วสบายทั้งครอบครัว มีทิศไหนบ้าง ต้องรีบไปดูกัน
แนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมวิธีเลือก ทำเล ฟังก์ชัน ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้อยู่แล้วสบาย ปลอดภัยในระยะยาว
มาดูวิธีคิดตารางเมตรง่ายๆ พร้อมการหาตารางเมตรอย่างละเอียดที่จะช่วยให้คำนวณพื้นที่ใช้สอยบ้าน คอนโดแบบมืออาชีพได้ย่างถูกต้อง
อัตราดอกเบี้ยบ้าน อัปเดต ปี 2567 ทั้งสินเชื่อบ้าน - คอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู 30 สถานี เชื่อมต่ออะไรบ้าง มาอัปเดตกัน อ่านเพิ่มเติม >
คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ Pet friendly vs. Pet allowed ต่างกันตรงไหน | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
เช็กชื่อต้นไม้ สรรพคุณเด่น เติบโตร่ำรวย ปลูกง่ายแม้ในคอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
จัดโต๊ะหมู่บูชายังไงให้ถูกต้อง กับทิศทางการตั้งโต๊ะหมู่บูชา อ่านเพิ่มเติม >