คำว่า “ค่าส่วนกลาง” คนที่เพิ่งได้ครอบครอง เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของห้องชุด อาจเกิดความไม่เข้าใจหรือเกิดข้อสงสัยว่าค่าส่วนกลางคืออะไร เงินที่จ่ายไป โครงการเอาไปใช้ส่วนไหนบ้าง หรือมีการคิดคำนวณอย่างไร ทำไมถึงต้องจ่ายแพง ต่อไปนี้จะเข้าใจและกระจ่างเมื่อได้เข้าใจความหมาย ความสำคัญของค่าส่วนกลาง ที่ดูเหมือนจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าของบ้าน เจ้าของห้องชุดทุกคน
ค่าส่วนกลางหรือ Maintenance Fee / Common Fee คือ ค่าใช้จ่ายที่ผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของบ้าน คอนโด จำเป็นต้องจ่ายให้กับนิติบุคคลโครงการ โดยนำเงินส่วนดังกล่าวไปบริหารจัดการดูแลส่วนต่างๆ ภายในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือพนักงานทำความสะอาด เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย
ซื้อบ้านต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง กับเช็คลิสต์ที่คนซื้อบ้านควรรู้
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางโครงการถึงจ่ายค่าส่วนกลางถูก บางโครงการก็จ่ายแพง แบบนี้ค่าส่วนกลางถูกคิดจากอะไร ซึ่งแท้จริงแล้วมีอยู่ 5 ปัจจัยในการคิดค่าส่วนกลาง
หากโครงการไหนมีจำนวนยูนิตเยอะ ก็จะมีตัวหารเยอะ ทำให้ผู้อยู่อาศัยเสียค่าส่วนกลางได้ถูกลง ในทางตรงกันข้าม โครงการไหนมีจำนวนยูนิตน้อย ตัวหารน้อย ค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายก็มีราคาสูง
บ้านหรือห้องชุดในโครงการคอนโด มักจะถูกคิดค่าส่วนกลางตามขนาดพื้นที่ หากเป็นบ้าน จะคิดคำนวณจากขนาดตารางวา ส่วนห้องชุด คำนวณจากขนาดตารางเมตร
หากโครงการไหนถูกออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนกลาง หรือสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก การคิดคำนวณค่าส่วนกลางก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งหากจำนวนยูนิตหารน้อย ค่าส่วนกลางก็จะยิ่งแพงตาม
ไม่ว่าบ้านหรือคอนโดที่เลือกใช้วัสดุคุณภาพสูง ราคาแพง โดยเฉพาะโครงการบ้านหรู ยิ่งจำเป็นต้องเสียค่าดูแลจำนวนมาก ทำให้ต้องเสียค่าส่วนกลางแพง
นิติบุคคลของแต่ละโครงการ ส่วนใหญ่แล้วผู้พัฒนาโครงการจะเป็นผู้เลือกมาจัดสรรดูแล เหมือนอย่าง แสนสิริ ที่มี Plus Property เข้ามาดูแล ซึ่งหากโครงการไหนใช้งบประมาณการจัดตั้งนิติบุคคลที่มีราคาสูง ก็จะยิ่งทำให้ราคาค่าสวนกลางปรับตัวตาม
จุดชมวิว พื้นที่ส่วนกลางโครงการ เนีย บาย แสนสิริ
ตัวอย่างการคิดคำนวณค่าส่วนกลาง
นายแสน ซื้อคอนโดโครงการเนีย บาย แสนสิริ ยูนิต 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ขนาด 34.75 ตร.ม. โดยโครงการคิดค่าส่วนกลาง 50 บาท/ตร.ม. หรือคิดเป็น 34.75 x 50 = นายแสนเสียค่าส่วนกลาง 1,737.50 บาท / เดือน หรือ 20,850 บาท / ปี
เคล็ดลับบริหารค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน ค่าส่วนกลางและกู้ตกแต่ง
ทีมรักษาความปลอดภัย Sansiri Security Inspection (SSI) อำนวยความสะดวกคนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด
อีกหนึ่งคำถามของคนซื้อบ้านและคอนโด นั่นคือ เงินที่จ่ายค่าส่วนกลางทุกปี โครงการนำไปใช้จ่ายอะไร แล้วผู้อยู่อาศัยได้อะไรบ้าง ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้
ค่าส่วนกลางนำมาใช้บำรุงรักษาต่างๆ ภายในโครงการ
จะเห็นได้ว่าการแจกแจงค่าส่วนกลางของแต่ละโครงการ นั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อผู้อยู่อาศัยโดยตรง และค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายให้กับนิติบุคคล จะไม่มีการหารายได้หรือกำไรให้กับโครงการ เนื่องจากนิติบุคคล ตามกฎหมายเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร การแจกแจงรายรับ-รายจ่าย จึงต้องตรงไปตรงมา และในทุกไตรมาสจะมีการเรียกประชุมลูกบ้าน (เจ้าของร่วมหรือเจ้าของบ้าน) เพื่อฟังรายละเอียดการจัดสรรค่าส่วนกลาง รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการ
ค่าส่วนกลางไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านหรือคอนโด ต้องยอมรับว่ามีโอกาสปรับราคาขึ้น หากโครงการเริ่มทรุดโทรม และจำเป็นต้องซ่อมแซมหลายส่วน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะ 5 ปี และจะค่อยๆ ปรับขึ้นตามขั้นบันได ทั้งนี้ก่อนจะมีการประกาศปรับขึ้น ตามกฎหมาย นิติบุคคลจำเป็นต้องมีจัดการประชุมเจ้าของร่วมหรือเจ้าของบ้าน เพื่อทำประชามติความเห็นชอบกับการปรับขึ้นราคาค่าส่วนกลาง ซึ่งจะต้องได้คะแนนเสียงรับรองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด ถ้าครั้งแรกไม่ผ่าน ให้เรียกประชุมครั้งที่ 2 ภายใน 15 วัน โดยการประชุมครั้งที่ 2 ไม่ต้องถึงกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด แต่ต้องได้คะแนน 1 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด ถึงจะประกาศปรับขึ้นได้
ศึกษากฎหมายอสังหาริมทรัพย์ควรรู้ และหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน-คอนโด
ยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ แน่นอนว่าหลายโครงการต่างประสบปัญหาผู้อยู่อาศัยไม่จ่ายค่าส่วนกลาง และหากนิติบุคคลเก็บค่าส่วนกลางไม่ได้ หรือไม่เพียงพอต่อการใช้งานจริง จะทำให้การบริหารขาดสมดุล อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไป โครงการเริ่มทรุดโทรม ก็จะไม่มีงบประมาณในการซ่อมบำรุง ส่งผลเสียทั้งตัวโครงการและผู้อยู่อาศัย ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดให้นิติบุคคลโครงการ สามารถตัดสิทธิ์การใช้ส่วนกลางกับเจ้าของบ้าน หรือห้องชุด ที่ติดค้างและไม่ชำระค่าส่วนกลาง โดยเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายข้อบังคับตามที่กำหนด ทั้งนี้ยังสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อบังคับให้ชำระค่าส่วนกลางได้อีกด้วย
ค่าส่วนกลางนำมาใช้ดูแลรักษาสาธารณูปโภคและความสวยงามของโครงการ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของค่าส่วนกลาง และการจัดสรรเงินค่าส่วนกลางไปแล้ว
ต้องบอกว่าใครที่กำลังมองหาบ้านหรือคอนโด แนะนำให้ไปส่องพื้นที่ส่วนกลาง พร้อมสอบถามค่าส่วนกลางกันล่วงหน้า
เพื่อจะได้วางแผนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น นอกเหนือจากการผ่อนบ้าน รวมไปถึงส่องความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้น
แต่ถ้าใครตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน ซื้อคอนโดกับแสนสิริ แน่นอนว่านอกจากได้ความคุ้มค่าทั้งโปรโมชัน แบบบ้าน
พื้นที่ส่วนกลางที่ถูกออกแบบจัดเต็มแล้ว ยังได้รับบริการหลังการขายอย่างใส่ใจ ดูแลดุจครอบครัว กับ Sansiri Homecare
อัตราดอกเบี้ยบ้าน อัปเดต ปี 2567 ทั้งสินเชื่อบ้าน - คอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู 30 สถานี เชื่อมต่ออะไรบ้าง มาอัปเดตกัน อ่านเพิ่มเติม >
คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ Pet friendly vs. Pet allowed ต่างกันตรงไหน | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
เช็กชื่อต้นไม้ สรรพคุณเด่น เติบโตร่ำรวย ปลูกง่ายแม้ในคอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
จัดโต๊ะหมู่บูชายังไงให้ถูกต้อง กับทิศทางการตั้งโต๊ะหมู่บูชา อ่านเพิ่มเติม >
ภาษีมรดก เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณเป็นทายาทที่อยู่ในรายชื่อได้รับมรดก ไม่ว่าจะบ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นๆ จากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง
แนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมวิธีเลือก ทำเล ฟังก์ชัน ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้อยู่แล้วสบาย ปลอดภัยในระยะยาว
มาดูวิธีคิดตารางเมตรง่ายๆ พร้อมการหาตารางเมตรอย่างละเอียดที่จะช่วยให้คำนวณพื้นที่ใช้สอยบ้าน คอนโดแบบมืออาชีพได้ย่างถูกต้อง
ภาษีมรดก เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณเป็นทายาทที่อยู่ในรายชื่อได้รับมรดก ไม่ว่าจะบ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นๆ จากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง
แนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมวิธีเลือก ทำเล ฟังก์ชัน ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้อยู่แล้วสบาย ปลอดภัยในระยะยาว
อัตราดอกเบี้ยบ้าน อัปเดต ปี 2567 ทั้งสินเชื่อบ้าน - คอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู 30 สถานี เชื่อมต่ออะไรบ้าง มาอัปเดตกัน อ่านเพิ่มเติม >
คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ Pet friendly vs. Pet allowed ต่างกันตรงไหน | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
เช็กชื่อต้นไม้ สรรพคุณเด่น เติบโตร่ำรวย ปลูกง่ายแม้ในคอนโด | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
จัดโต๊ะหมู่บูชายังไงให้ถูกต้อง กับทิศทางการตั้งโต๊ะหมู่บูชา อ่านเพิ่มเติม >