เรื่องกู้บ้านกับ ดอกเบี้ยบ้าน ดูจะเป็นของคู่กันที่แยกจากกันไม่ได้ แต่เราก็มักมีปัญหากับคำศัพท์ยากๆ ที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้ง Fixed Rate, Floating Rate และคำถามสุดคลาสสิกเลยก็คือ เจ้า MLR MRR MOR คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกันแน่ เหตุนี้จึงทำให้หลายคนต้องศึกษาพร้อมทำความเข้าใจ ทั้งรูปแบบสินเชื่อ รวมไปถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่พบเจอเมื่อได้ทำการศึกษาอัตราดอกเบี้ยบ้าน โดยในแต่ละคำจะมีความหมายแตกต่างกันไปตามประโยชน์ของผู้กู้ดังนี้
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดเรียกเก็บลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ในที่นี้หมายถึง มีประวัติการเงินดี หลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอ โดยมักจะใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่กำหนดระยะเวลาแน่นอน อย่างสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
ตัวอย่าง: ธนาคาร A ออกสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจในวงเงินกู้ 3,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR -3.96% ต่อปี โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดทั้ง 3 ปี แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR
MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ตัวอย่าง: ธนาคาร B ออกสินเชื่อที่อยู่อาศัยในวงเงินกู้ 3,000,000 บาท ด้วย ด้วยอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ MRR -3.125% ตั้งแต่ปีที่ 1-3 หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในเรท MRR -1.50% แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MRR
สามารถดูอัตราดอกเบี้ย MRR ล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ ที่นี่
MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการเบิกเงินเกิน OD จึงทำให้ธนาคารจึงต้องเข้มงวดในการพิจารณาผู้กู้ ทั้งคุณสมบัติของผู้กู้ ประวัติทางการเงิน และหลักทรัพย์ประกัน เป็นต้น
ตัวอย่าง: ตัวอย่าง ธนาคาร C ออกสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมอาคาร โดยอัตราดอกเบี้ยบ้านเป็นรูปแบบวงเงินเกินบัญชี (OD) หรือ MOR ซึ่งจะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคาร
ธนาคาร | MOR | MLR | MRR |
---|---|---|---|
กรุงเทพ | 7.55 | 7.1 | 7.05 |
กรุงไทย | 7.52 | 7.05 | 7.57 |
กรุงศรีอยุธยา | 7.575 | 7.28 | 7.4 |
กสิกรไทย | 7.59 | 7.27 | 7.3 |
เกียรตินาคินภัทร | 8.175 | 8.175 | 8.2 |
ซีไอเอ็มบี ไทย | 8.75 | 8.35 | 9.25 |
ซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) | 7.6 | 6.8 | - |
ทหารไทยธนชาต | 7.85 | 7.725 | 7.83 |
ทิสโก้ | 8.1 | 8.1 | 8.15 |
ไทยพาณิชย์ | 7.575 | 7.05 | 7.3 |
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) | 9.08 | 9.5 | 10.15 |
เมกะ สากลพาณิชย์ | 7 | 6.5 | 6.75 |
ยูโอบี | 8.35 | 8.25 | 8.8 |
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ | 8.45 | 8.075 | 8.8 |
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) | 8 | 7.53 | - |
แม่น้ำพาณิชย์ | 8.1 | 7.85 | 8 |
ไอซีบีซี (ไทย) | 8.175 | 7.75 | 7.7 |
ที่มาข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 10 กรกฎาคม 2567)
ทำความรู้จักประเภทของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate)
คือ การคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งก้อนตั้งแต่เริ่มทำสัญญา และนำไปหารจำนวนงวดทั้งหมดที่ต้องผ่อนชำระ จะได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ต้องจ่ายแต่ละงวด และแม้ว่าผู้กู้จะผ่อนชำระเงินต้นลดลงแล้ว แต่ดอกเบี้ยจะไม่ลดลงตาม อัตราดอกเบี้ยรูปแบบนี้จะนิยมกับรูปแบบสินเชื่อรถ
ตัวอย่าง: นายแสนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในราคา 1.4 ล้านบาท โดยได้ยื่นกู้กับธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งคิดดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี กำหนดระยะเวลาผ่อน 4 ปี ดังนั้นดอกเบี้ยที่นายแสนต้องชำระทั้งหมดตลอดระยะเวลา 4 ปีคือ
เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลา
1,400,000 x 3% x 4
= ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด 168,000 บาท
2. ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)
คือการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือที่แท้จริง โดยจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้ชำระเงินกู้แต่ละงวดแล้วถูกนำมาลดยอดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยที่ถูกนำมาคำนวณในงวดถัดไปลดลง ดังนั้นหากผู้กู้ต้องการให้หนี้สินหมดไว สามารถทำได้ด้วยวิธีโปะเงินก้อน อัตราดอกเบี้ยรูปแบบนี้จะนิยมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ตัวอย่าง: นายสิริ ผ่อนบ้านกับธนาคารแห่งหนึ่ง โดยมีเงินต้นอยู่ที่ 2 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี จำนวนงวด 36 งวด หรือ 3 ปี ค่างวดต่อเดือนอยู่ที่ 7,900 บาท ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่ลดต้นลดดอกคือ
เงินต้น x ดอกเบี้ยต่อปี x 30 วัน / 365
2,000,000 x 2.5% x 30
= ดอกเบี้ยต่องวด 4,109 บาท
ค่างวดต่อเดือน - ดอกเบี้ยต่องวด
7,900 - 4,109
= เงินต้นที่ต้องจ่ายในงวดนั้น 3,791 บาท
เงินต้นทั้งหมด - เงินต้นที่ต้องจ่ายในงวดนั้น
2,000,000 - 3,791
= เงินต้นคงเหลือ 1,996,209 บาท
อ่านรายละเอียดการเตรียมเอกสารยื่นกู้ได้ ที่นี่
ในฐานะที่เป็นผู้กู้นอกจากจะต้องเข้าใจคำศัพท์และประเภทของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แล้ว ยังต้องคำนึงถึงมาตรการคุมเข้มสินเชื่อบ้านจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562
มาตรการคุ้มเข้มสินเชื่อ | สัญญาที่ 1 | สัญญาที่ 2 | สัญญาที่ 3 |
---|---|---|---|
ที่อยู่อาศัยราคา |
Low Rise*
ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน
95%
ของวงเงินกู้ High Rise*
ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน
90%
ของวงเงินกู้ |
เคยทำสัญญาที่ 1 แล้ว
ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน
80%
ของวงเงินกู้
เคยทำสัญญาที่ 1 แล้ว
ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน
90%
ของวงเงินกู้ |
ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน
70%
ของวงเงินกู้ |
ที่อยู่อาศัยราคา |
ไม่เกิน 80% |
*Low Rise = บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียมไม่เกิน 8 ชั้น
**High Rise = คอนโดมิเนียมเกิน 8 ชั้น
ที่มา: ศคง (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย), SET
สำหรับใครกำลังวางแผนว่าจะกู้บ้านก็จะต้องทำความเข้าใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย MLR MRR และดอกเบี้ย MOR ในเบื้องต้นก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยทั้งสามอัตราเป็นอัตราอ้างอิงที่ธนาคารใช้คำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อ โดยอาจบวกหรือลบส่วนต่างตามความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะเศรษฐกิจและนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
ดอกเบี้ยคงที่และลดต้นลดดอกต่างกันที่วิธีคำนวณดอกเบี้ย ดอกเบี้ยคงที่คิดจากยอดเงินกู้ตั้งต้นตลอดอายุสัญญา ทำให้จ่ายดอกเบี้ยเท่ากันทุกงวด ส่วนลดต้นลดดอกคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือ ทำให้ดอกเบี้ยลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละงวดที่ผ่อน
หากอัตราดอกเบี้ย MLR เพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระรายเดือนก็จะเพิ่มขึ้นด้วย หาก MLR ลดลง จำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระก็จะลดลง ทำให้ผู้กู้ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของ MLR อย่างใกล้ชิด
ดอกเบี้ย MRR แต่ละธนาคารไม่เท่ากัน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อต้นทุนของแต่ละธนาคาร เช่น ปริมาณเงินสำรอง จำนวนหนี้เสีย สภาพคล่อง กลยุทธ์ทางการเงิน และความเสี่ยง
อัตราดอกเบี้ย MRR ไม่ได้ขึ้นทุกปี แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย สภาวะเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกัน
ถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบคงที่จะมีสูตรในการคิด คือ เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลา = ดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องชำระให้ธนาคาร เพียงเท่านี้ก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ธนาคารแล้ว
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2567 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
15 ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ช่วยดูดสารพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2567 | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้าน ต้องผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้าน คอนโด 2567 ที่ไหนดี | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
15 ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ช่วยดูดสารพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2567 | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ซื้อบ้านราคา 8-10 ล้าน ต้องผ่อนบ้านเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >