โดย อารยา ศิริพยัคฆ์
อัปเดต :  17/05/2024
ทะเบียนบ้านใครว่าไม่สำคัญ กับสิ่งที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องรู้ | แสนสิริ

เรื่องของ “ทะเบียนบ้าน” เป็นสิ่งที่คนซื้อบ้าน ซื้อคอนโดทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่การแจ้งสมาชิกเข้ามาอยู่บ้าน ซึ่งแน่นอนบางคนอาจกำลังสงสัยความแตกต่างระหว่างเจ้าบ้านและเจ้าของบ้านนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของเอกสาร ขั้นตอนทางกฎหมายที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญของทะเบียนบ้านได้ ดังนี้


สาระสำคัญของทะเบียนบ้าน


ทะเบียนบ้านคืออะไร

ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารทางราชการประเภทหนึ่งที่ออกโดยนายทะเบียนของที่ทำการประจำท้องที่นั้นๆ (เช่นสำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ) โดยทะเบียนบ้านเป็นเอกสารที่แสดงเลขประจำบ้านและรายชื่อบุคคลทั้งหมดที่อยู่ในบ้าน ทั้งนี้รายละเอียดภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วย


  1. ข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน

  • เลขรหัสประจำบ้าน 11 หลัก โดยหลักที่ 1-4 คือรหัสของสำนักทะเบียนตามรหัสจังหวัดและอำเภอของประเทศไทย หลักที่ 5-10 เป็นเลขลำดับของบ้านแต่ละหลังในสำนักทะเบียนนั้นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนด ส่วนหลักที่ 11 เป็นเลขสำหรับใช้ตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำบ้านทั้งหมด
  • สำนักทะเบียนระบุชื่อท้องถิ่น ซึ่งจะสอดคล้องกับเลขรหัสประจำบ้าน 4 หลักแรก
  • รายการที่อยู่ ประกอบไปด้วยข้อมูล เช่น บ้านเลขที่ หมู่ ถนน แขวง เขต จังหวัด
  • ชื่อหมู่บ้าน ระบุชื่อหมู่บ้านหรือชื่อโครงการ
  • ชื่อบ้าน ระบุชื่อหมู่บ้าน
  • ประเภทบ้าน อาคารชุด ตึกแถว
  • ลักษณะบ้าน อาคารชุด ตึกเดี่ยว ตึกแฝด
  • วัน เดือน ปี ที่ได้กำหนดบ้านเลขที่


  1. ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

  • สถานภาพ ชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านจะมีสถานะ 2 ประเภท ได้แก่ เจ้าบ้านซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ครอบครองบ้าน และผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลเฉพาะ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ชื่อบิดามารดา สัญชาติ เพศ วันเดือนปีเกิด และประวัติการย้ายที่อยู่




ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท

ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท


สำหรับประเภทของทะเบียนบ้านในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภท


  1. ทะเบียนบ้านชั่วคราว

เป็นทะเบียนประจำบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุก ป่าสงวน หรือโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ทั้งทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้ได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวคงมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน


  1. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) เล่มเหลือง

ใช้สำหรับลงรายการที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง


  1. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เล่มน้ำเงิน

ใช้สำหรับลงรายการข้อมูลที่อยู่อาศัยของคนที่มีสัญชาติไทย หรือ คนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว


  1. ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน

เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ๆ ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ


  1. ทะเบียนบ้านกลาง

ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้




ขอทะเบียนบ้านควรรู้อะไรไว้ก่อนบ้าง?


  1. เอกสารที่ใช้ขอทะเบียนบ้าน

  • เอกสาร ทร.9 หรือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยหน่วยงานท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อบต.)
  • ใบอนุญาตก่อสร้าง(ใบ อ.1) หรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน
  • โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดิน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน ผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบอำนาจ ถ้าเจ้าของบ้านไม่สามารถมาติดต่อขอทะเบียนบ้านด้วยตนเอง ได้มอบหมายให้ผู้อื่นมาติดต่อแทน สำหรับเอกสารที่จะต้องใช้ กรณีรับมอบอำนาจ จะมีบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน และ เซ็นสำเนาถูกต้องในเอกสารสำคัญอย่างละ 1 ชุด ในเอกสารมอบอำนาจจะต้องมีพยานบุคคล 2 คน ลงชื่อรับทราบด้วย
  • รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวบ้าน


  1. ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้าน

  • ขอทะเบียนบ้านแบบปกติ

    • เข้าไปยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนที่ปลูกสร้างบ้าน โดยในกรุงเทพฯ ยื่นเรื่องได้ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขต ต่างจังหวัดยื่นเรื่องไปที่ฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอ
    • หลังจากยื่นเรื่องเสร็จนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ จากนั้นทำการออกเลขที่บ้านพร้อมกับจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
    • ส่งมอบทะเบียนบ้านให้กับผู้แจ้งเรื่อง
    • ทำเรื่องย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้าน


  • ขอทะเบียนบ้านออนไลน์

    เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป ได้มีประกาศให้สามารถแจ้งขอทะเบียนบ้านออนไลน์ หรือ ทะเบียนบ้านดิจิทัล ตามขั้นตอนดังนี้

    • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DOPA ผ่านทาง App Store สำหรับ iOS และ Play Store สำหรับ Android
    • นำบัตรประชาชนไปยื่นเรื่องกับนายทะเบียนด้วยตัวเอง ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด เพื่อยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือและใบหน้า และรับรหัสผ่าน (PIN) สำหรับใช้แอปฯ
    • เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูล ก่อนเข้าสู่แอปฯ และเลือกใช้บริการตามที่ต้องการ




ขอบ้านเลขที่ ขอทะเบียนบ้าน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สร้างเสร็จ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขอเลขที่บ้านตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 จะไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่ยื่นขอเลขที่บ้านภายใน 15 วันจะถือว่าละเลยและมีโทษปรับ 1,000 บาท




ทะเบียนบ้านดิจิทัลคืออะไร

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 สาระสำคัญของประกาศดังกล่าวได้ระบุในข้อปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 โดยให้สำนักงานทะเบียนกลาง จัดให้มีการบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแล้ว สามารถขอรับบริการผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยตนเอง


ซึ่งปัจจุบันในปี 2567 สามารถใช้บริการดู “ทะเบียนบ้านดิจิทัล” ผ่านแอปพลิเคชัน ThaiD


ทะเบียนบ้านดิจิทัลใช้ทำอะไรได้บ้าง

  • ใช้ตรวจข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบฐานข้อมูลประชาชน และการบริการภาครัฐ
  • การจองคิวรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า
  • การแจ้งย้ายที่อยู่
  • บริการในด้านงานทะเบียนราษฎรประเภทอื่นๆ ( เช่น งานทะเบียนราษฎร เช่น การตรวจคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การแจ้งย้ายเข้า/ย้ายออก/ย้ายปลายทางของสมาชิกในบ้าน การแจ้งเกิด การแจ้งตาย )


ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านดิจิทัล

ผู้สนใจสามารถใช้บริการทะเบียนบ้านดิจิทัล สามารถใช้งานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โดยจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ThaiD” สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS ดาวน์โหลดได้ที่ Appstore และสำหรับระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Playstore




เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร

หากใครสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงของเจ้าบ้านนั้นคืออะไร แตกต่างอย่างไรกับเจ้าของบ้าน โดยสามารถแยกบทบาทและสิทธิทางกฎหมายได้ดังนี้

ความหมายเจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน


01

เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้

01

เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย


หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน


01

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน
01

เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้




ซื้อบ้านหลายหลัง ชื่อในทะเบียนบ้านทำอย่างไร ซื้อบ้านแต่ให้คนอื่นเป็นเจ้าบ้านได้ไหม

เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นนักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้องมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่นๆ ได้


นักลงทุนที่มีบ้านหลายหลัง คอนโดหลายห้อง รู้วิธีการแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว หากอยากเพิ่มจำนวนห้องชุดให้มากกว่านี้ กับโปรโมชันแสนสิริ ที่มอบให้สำหรับผู้ที่จองผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น


online booking online booking




ชื่อในทะเบียนบ้านสามารถปล่อยว่างได้หรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ "พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้นหากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ"


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ จากกรมสรรพากร




วิธีแจ้งชื่อย้ายเข้า-ย้ายออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ และกำลังมีแผนย้ายบ้านต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้


01

แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้านจะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

รู้วิธีการย้ายเข้า ย้ายออกทะเบียนบ้านแล้ว หากใครสนใจอยากย้ายทะเบียนบ้านเข้าโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝดน่าอยู่ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการใหม่ อณาสิริ วงแหวน - ลำลูกกา และ อณาสิริ ปิ่นเกล้า - กาญจนาฯ ได้


บ้านเดี่ยวอณาสิริ กรุงเทพ-ปทุมธานี
บ้านเดี่ยวอณาสิริ ชัยพฤกษ์-วงแหวน


01

แจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้าน หลังจากเจ้าบ้านแจ้งเรื่องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเดิมแล้ว เจ้าบ้านจำเป็นต้องแจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยต้องยื่นเอกสารให้กับนายทะเบียนท้องที่ที่ย้ายเข้า หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบแล้วจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ซึ่งมีเอกสารสำหรับย้ายเข้าทะเบียนบ้านดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว




ทะเบียนบ้านหายต้องทำอย่างไร

สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง และถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นสามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

แหล่งข้อมูล: bora.dopa.go.th

ได้ความรู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังซื้อบ้านในตอนนี้ไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้ แนะนำให้รีบคว้าโครงการเด่นทำเลดังกับแสนสิริโปรโมชันดีๆ อย่างโปรโมชันบ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่พร้อมพบประสบการณ์ซื้อบ้าน แสน Smooth ในทุกขั้นตอน




คำถามที่พบบ่อย


Q :

คนเป็นเจ้าบ้านมีสิทธิอะไรบ้าง

A :

เจ้าบ้าน คือ ผู้ที่มีชื่อครอบครองบ้าน ซึ่งตามกฎหมายทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นไปแจ้งเรื่องต่อนายทะเบียนเมื่อมีเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • แจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดขึ้นมาใหม่ และต้องการนำชื่อเข้าสู่ทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ
  • แจ้งตาย เมื่อบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ภายในทะเบียนบ้าน เสียชีวิต
  • แจ้งย้ายคนเข้า-ออก เมื่อมีการย้ายชื่อเข้า หรือย้ายชื่อออก ภายในทะเบียนบ้านนั้นๆ
  • แจ้งขอเลขหมายประจำบ้าน ในกรณีที่มีการรื้อถอนบ้านเดิมและปลูกสร้างบ้านใหม่


Q :

ซื้อบ้านแล้วไม่ย้ายเข้าทะเบียนบ้านได้ไหม

A :

ได้ แต่เบื้องต้นต้องรู้ก่อนว่าตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังไหนก็ตาม จะถูกตีความว่าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านหลังหลักของคนๆนั้น และสาระสำคัญของกฎหมายทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ก็คือ เราสามารถมีชื่ออยู่ภายในทะเบียนบ้านได้หลังเดียวเท่านั้น


Q :

เจ้าบ้านจำเป็นต้องเป็นเจ้าของบ้านไหม

A :

ไม่จำเป็น เพราะ เจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อใน โฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะ จำหน่าย จ่ายโอน ในที่ดินและบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายแพ่งและพานิชย์


Q :

ชื่อเจ้าบ้านมี 2 คน ได้ไหม

A :

ถ้าในนิยามของคำว่า “เจ้าบ้าน” จะไม่สามารถมีเจ้าบ้านได้ 2 คน เหตุผลเพราะว่าในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว


Q :

หากซื้อบ้านแต่ให้คนอื่นเป็นเจ้าบ้าน เปลี่ยนเจ้าบ้านต้องไปที่ไหน และต้องทำอย่างไร

A :

  1. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน (สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง, สำเนาทะเบียนบ้าน, หนังสือยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์, หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย สัญญายกให้)
  2. ไปที่สถานที่ราชการที่บ้านของคุณตั้งอยู่ เช่น ถ้าบ้านของคุณอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็ไปที่สำนักงานเขต ถ้าคุณอยู่ต่างจังหวัดก็ไปที่ ที่ว่าการอำเภอ
  3. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการเปลี่ยน “เจ้าบ้าน”
  4. กรอกใบคำร้องขอเปลี่ยนเจ้าบ้าน
  5. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อเจ้าหน้าที่
  6. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารและดำเนินการเปลี่ยนเจ้าบ้าน
  7. รอรับใบทะเบียนบ้านใหม่


ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักบริหารการทะเบียน

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. ฤกษ์ดี ขึ้นบ้านใหม่ 2567 จะแต่งงาน หรือเปิดร้านค้าก็เฮง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ประกัน mrta คืออะไร และ 5 เทคนิคลดดอกเบี้ยบ้าน ตัวช่วยหมดหนี้บ้านเร็ว อ่านเพิ่มเติม >


  1. โอนบ้าน โอนคอนโด ต้องเสียค่าอะไรบ้าง เช็คด่วน! อ่านเพิ่มเติม >


  1. อัพเดทเส้นทาง BTS MRT ปี 2567 พร้อมเจาะทำเลน่าอยู่ น่าลงทุน อ่านเพิ่มเติม >


  1. สัมผัสความอัจฉริยะ ของแบบบ้านสมาร์ทโฮม เพียงปลายนิ้วสัมผัส อ่านเพิ่มเติม >


โครงการที่น่าสนใจ

อณาสิริ บางนา

บ้านแฝด บรรยากาศทะเลสาบ ฟังก์ชันครบครัน พร้อมส่วนกลางขนาดใหญ่ ใกล้ทางด่วนบางนา กม.26

เริ่มต้นที่ 4.59 ล้านบาท

อณาสิริ รามคำแหง

โครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม พัฒนาการ พร้อมอยู่ สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน เพียง 7 นาที* ถึง MRT สายสีส้ม สถานีราษฎร์พัฒนา

เริ่มต้นที่ 3.29 ล้านบาท

อณาสิริ กรุงเทพ - ปทุมธานี 2

โครงการบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด ปทุมธานี สไตล์ญี่ปุ่น ใกล้พื้นที่สีเขียวสนามกอล์ฟขนาดใหญ่ เชื่อมต่อเมืองง่าย ใกล้ทางด่วน 2 เส้น

เริ่มต้นที่ 4.19 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ รังสิต - คลอง 3

อณาสิริ รังสิต - คลอง 3

โครงการบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด รังสิต สไตล์ญี่ปุ่น ทำเลใหม่ ใกล้ทางด่วน

เริ่มต้นที่ 4.39 ล้านบาท
โครงการใหม่
อณาสิริ ศรีนครินทร์ - แพรกษา

อณาสิริ ศรีนครินทร์ - แพรกษา

ทาวน์โฮมใหม่สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ฟังก์ชันครบ ใกล้รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว สถานีแพรกษา และทางด่วน

เริ่มต้นที่ 2.89 ล้านบาท
โครงการใหม่
อณาสิริ เวสต์เกต

อณาสิริ เวสต์เกต

โครงการบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด เวสต์เกต-บางใหญ่ สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ใกล้ MRT คลองบางไผ่ เพียง 5 นาที* รับข้อเสนอพิเศษ คลิก!

เริ่มต้นที่ 5.59 ล้านบาท

บทความที่เกี่ยวข้องกับ “เตรียมตัวก่อนซื้อ”

5 ขั้นตอนวิธีซื้อคอนโดยังไงให้คุ้มค่า ทั้งราคาและคุณภาพชีวิต

รวมขั้นตอนการซื้อคอนโดต้องดูอะไรบ้าง ให้คุ้มค่าทั้งราคาและคุณภาพชีวิตด้วย 5 วิธีซื้อคอนโดง่ายๆ ที่รับรองได้ว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

ค่าส่วนกลางคืออะไร จ่ายแล้วได้ประโยชน์อะไร เช็กด่วน

ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด จำเป็นต้องทำความรู้จักพร้อมศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "ค่าส่วนกลาง" เพื่อจะรู้การบริหารจัดการนิติบุคคล และความคุ้มค่าที่จะได้รับ

อยากซื้อบ้านหลังแรก บ้านเดี่ยว VS ทาวน์โฮม แบบไหนคุ้มสุด

ทาวน์โฮมกับบ้านเดี่ยวต่างกันอย่างไร ซื้อบ้านแบบไหนคุ้มค่าที่สุด ไปดู 5 ปัจจัยที่ช่วยให้การตัดสินใจซื้อบ้านหลังแรกของคุณง่ายขึ้น

5 ขั้นตอนวิธีซื้อคอนโดยังไงให้คุ้มค่า ทั้งราคาและคุณภาพชีวิต

รวมขั้นตอนการซื้อคอนโดต้องดูอะไรบ้าง ให้คุ้มค่าทั้งราคาและคุณภาพชีวิตด้วย 5 วิธีซื้อคอนโดง่ายๆ ที่รับรองได้ว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

ค่าส่วนกลางคืออะไร จ่ายแล้วได้ประโยชน์อะไร เช็กด่วน

ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด จำเป็นต้องทำความรู้จักพร้อมศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "ค่าส่วนกลาง" เพื่อจะรู้การบริหารจัดการนิติบุคคล และความคุ้มค่าที่จะได้รับ

ไม่พลาด ข่าวสารและบทความดีๆ

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อรับข่าวสาร และข้อมูลสิทธิพิเศษจากแสนสิริก่อนใคร

ประเภทโครงการที่คุณสนใจ


เพื่อให้ท่านทราบวิธีและกระบวนการ ที่เราดำเนินการจัดเก็บข้อมูล วัตถุประสงค์การใช้ข้อมูล ​
ท่านสามารถศึกษารายละเอียด แบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ได้ที่นี่ คลิก

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. ฤกษ์ดี ขึ้นบ้านใหม่ 2567 จะแต่งงาน หรือเปิดร้านค้าก็เฮง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ประกัน mrta คืออะไร และ 5 เทคนิคลดดอกเบี้ยบ้าน ตัวช่วยหมดหนี้บ้านเร็ว อ่านเพิ่มเติม >


  1. โอนบ้าน โอนคอนโด ต้องเสียค่าอะไรบ้าง เช็คด่วน! อ่านเพิ่มเติม >


  1. อัพเดทเส้นทาง BTS MRT ปี 2567 พร้อมเจาะทำเลน่าอยู่ น่าลงทุน อ่านเพิ่มเติม >


  1. สัมผัสความอัจฉริยะ ของแบบบ้านสมาร์ทโฮม เพียงปลายนิ้วสัมผัส อ่านเพิ่มเติม >