HIGH CONTRAST
กิ๊ฟต์-รักกิจ ควรหาเวช
ลวดลายกราฟิก พร้อมรูปทรงเรขาคณิตสีสดใส ประกอบกันขึ้นเป็นสัตว์นานาชนิด คือคาแรคเตอร์ ประจำตัวของ กิ๊ฟต์-รักกิจ ควรหาเวช กราฟิกเวคเตอร์คนแรกๆ ของไทยที่ไม่เพียงผลงานจะเป็นที่ ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ แต่นอกเหนือไปจากการทำงานเชิงพาณิชย์ เขายังคงสร้างผลงาน street art ด้วยมืออย่างต่อเนื่อง ไม่เคยขาด
เสน่ห์งานแฮนด์เมด
"การได้พ่น ได้เพนท์ มันอาจไม่เนี้ยบเหมือนเวลาออกแบบบนจอ แต่ก็ช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจในการ ทำงานมากขึ้น” เขาบอกและย้ำว่า เพราะเสน่ห์ของงานแฮนด์เมดคือ ความไม่สมบูรณ์แบบงานทุกชิ้นไม่ เหมือนที่ออกมาจากเครื่องจักร แต่ละชิ้นจึงมีความเป็นออริจินอล ในตัวเอง “เหมือนเวลาเราวาดรูป ต่อให้เป็นรูปเดิมๆก็จะออกมาไม่เหมือนกันทุกครั้ง เพราะมันมีปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างกัน"

ด้วยสไตล์การออกแบบที่แปลกตาทำให้กิ๊ฟต์ชื่นชอบการจับคู่สีที่แตกต่าง ทั้งการใช้สีบนเสื้อผ้าของชน เผ่าพื้นเมือง หรือแม้แต่งานเพนท์สีบนรถบรรทุก ก็เป็นอีกหนึ่งศิลปะที่เขาสนใจ "ผมชอบที่รถบรรทุก ทุกคันมีเรื่องราวเฉพาะตัว แต่กลับมีสไตล์การใช้สีที่คล้ายกัน คือการจับคู่สีแบบขั้วตรงข้าม อย่างสี ชมพูกับสีเขียว ทำไมเขาเอาคู่สีที่ตรงข้ามขนาดนี้มารวมกันได้ หรืออย่างสีสันบนเสื้อผ้าของพวกชนเผ่า ฉูดฉาดแต่ลงตัว ยิ่งเข้าไปดูใกล้ๆ แต่ละจุดก็จะมีรายละเอียดซ่อนอยู่ด้วย"
แรงบันดาลใจในการออกแบบ
กราฟิกหนุ่มจึงนำแรงบันดาลใจการใช้สีสันแบบขั้วตรงข้ามมาใช้ในการเพนท์ "ลำโพงไม้จามจุรี" ที่ แสนสิริออกแบบมาอย่างมีเอกลักษณ์ "มันดูสวย นิ่ง โมเดิร์น ด้วยการใช้ไม้หลายๆ ชิ้นมาประกบกัน ทำให้ผิวสัมผัสไม้ดูแตกต่างในตัวเอง แถมยังเอารูปทรง เรขาคณิตมาผสมผสาน ยิ่งดูลงตัว เมื่อเห็น วัสดุธรรมชาติผมก็เลยนึกถึงลวดลายของชนเผ่า อยากเอามาสร้างสรรค์ในสไตล์เรา โดยใช้ปากกา มาร์คเกอร์วาดลวดลายแพทเทิร์น แล้วใช้การจับคู่สีแบบที่เห็นบนเสื้อผ้าของชนเผ่าพื้นเมือง ใส่ลงไปใน แต่ละช่องว่าง โดยใช้สีอะคริลิค ตัดเส้นด้วยพู่กันมาผสมเพื่อเติมดีเทลให้คมชัด จากนั้นก็พ่นเคลือบทับ ด้วยเคลียร์ด้าน"

กิ๊ฟต์บอกอีกว่า อยากให้คนที่เห็นงานรู้สึกสนุก เช่นเดียวกับเวลาที่เห็นงานของเขาตามสถานที่ต่างๆ และอยากฝากให้นักออกแบบนำศิลปวัฒนธรรมไทยไปต่อยอดลงในงานดีไซน์มากขึ้น โดยเป็นการ ประยุกต์ให้เหมาะสมกับงาน เข้ากับสไตล์ที่ทำ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้งานฝีมือไทยได้มีการพัฒนาไป ไม่หยุดอยู่กับที่เหมือนกับที่แสนสิริและตัวเขาร่วมกันสร้างสรรค์ลำโพงไม้จามจุรีชิ้นพิเศษ อันเป็น ผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยอย่างแท้จริง


SANSIRI.COM | SITEMAP Copyright 2014 SANSIRI PUBLIC COMPANY LIMITED, ALL RIGHTS RESERVED.